คราม…พืชสมุนไพรและย้อมผ้า

 

คราม…เชื่อว่าคนส่วนใหญ่รู้จักคราม
ครามเป็นที่รู้จักจากการย้อมผ้าด้ายคราม หรือผ้ามัดย้อมคราม
แต่จริงๆ แล้ว “คราม” มีหน้าตาเป็นอย่างไร
โพสต์นี้ แอดมินจะพาไปรู้จักภูมิปัญญาการย้อมผ้าของคนอีสาน

คราม  ที่เราเรียกติดปาก ทราบมั้ยคะว่า ครามเป็นพืช และต้นครามไม่ใช่ต้นฮ่อมด้วย  

ต้นฮ่อมนั้นเป็นไม้คนละวงศ์กับต้นครามโดยสิ้นเชิง
ต้นฮ่อมและต้นครามเป็นพืชสองชนิดที่อยู่กันคนละชนิดและคนละวงศ์
ฮ่อม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Baphicacanthus cusia Brem . วงศ์ ACANTHACEAE
มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ที่ทำให้คนสับสนง่ายก็คือ ต้นฮ่อมนี้คนทั่วไปเรียกว่า คราม จึงไปเข้าใจว่าคือต้นคราม
ที่แม่ฮ่องสอนเรียกครามดอย ที่จังหวัดน่านเรียกฮ่อมเมือง ฮ่อมหลวง และที่เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ลำปาง เรียกฮ่อมน้อย

วันนี้แอดมินจะพาไปรู้จัก ต้นคราม
ต้นครามที่เรานำมาย้อมสีนี้ เป็นต้นไม้ที่อยู่ในวงศ์เดียวกับถั่ว มีหลายสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย แต่ที่เรานิยมนำมาใช้ย้อมสีคือสายพันธุ์ Indigofera tinctoria หาได้ทั่วไปในทุกท้องถิ่น และปรับตัวได้เข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างดี ทนต่อความแห้งแล้งและความร้อนได้ดี เจริญได้ในดินเค็ม 

การย้อมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างต่อเนื่องมาหลายร้อยปี โดยเฉพาะการย้อมคราม
มีภูมิปัญญาการย้อมแฝงอยู่ในทุกขั้นตอน
เริ่มตั้งแต่ปลูกต้นครามให้มากพอ จากนั้นผ่านขั้นตอนการหมักคราม คนโบราณเรียกว่า “การเลี้ยงผีหม้อคราม” ปัจจุบันเราเรียกว่า “เลี้ยงคราม”  สีที่ได้เป็นสีน้ำเงินเข้ม
หากทำไม่ถูกขั้นตอน ครามจะไม่ให้สี เรียกว่า ‘ตาย’ น้ำสีที่ยังไม่สมบูรณ์จะเห็นเป็นสีเขียวเข้ม
เมื่อโดนอากาศ จะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำเงิน ถึงสีครามในที่สุด ชาวอีสานเรียกสีครามว่าสีนิล สีหม้อ หรือสีหม้อนิล
ชาวอีสานตอนบนนิยมนำไปย้อมผ้า และมัดเป็นลาย เรียกว่า ผ้าย้อมคราม

ผู้อ่านทราบมั้ยคะว่า….ครามยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย

นำต้นครามทั้งต้นต้มในน้ำร้อนดื่มเป็นยาแก้กษัย ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว
และนำลำต้นสดๆ ไปบุบให้แตกแล้วนำไปพอกขมับเพื่อลดไข้ บรรเทาอาการปวดศีรษะและลดอาการตัวร้อนจากพิษไข้ได้ดี ส่วนของเปลือกนำมาประคบลดบวมบริเวณผิวหนังและรักษาฝีต่างๆ รวมทั้งพิษงู แมลงกัดต่อย

เมื่อมีบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือถูกมีดบาด จะใช้เนื้อครามที่เตรียมไว้ใช้ย้อมผ้ามาทาแผล ทำให้แผลหายเร็ว และไม่เป็นหนอง ซึ่งปัจจุบันมีการวิจัยพบว่า เนื้อคราม มีฤทธิ์ฝาดสมานและฆ่าเชื้อโรคได้อย่างดี
มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าครามมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ต้านการชัก ต้านมะเร็ง ต้านพิษสารหนู
และด้านความสวยความงาม สำหรับคนที่ต้องการย้อมผมหงอกให้เป็นสีดำหรือสีเข้ม แต่ไม่อยากใช้น้ำยาเคมี
แอดมินขอเสนอ “คราม” เรานำใบครามไปใช้เป็นสีย้อมผมทำให้ผมที่เป็นสีขาวกลับกลายเป็นสีเข้มได้
ต้องเข้าใจก่อนว่า สารสกัดจากธรรมชาติจะไม่ติดทนนานเหมือนกับน้ำยาเคมี แต่รับรองว่าปลอดภัยต่อสุขภาพเราแน่นอน

 

#มูลนิธิสุขภาพไทย  #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน  #ภูมิปัญญาการย้อมคราม

#คราม  #สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ   #สสส.

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand