แม้ว่าที่ผ่านมาสหรัฐฯ พยายามจะผลักดันให้มีการใช้สารเคมีอย่างเข้มงวด รวมไปถึงการปลุกพืช GMOs และพืชเชิงเดี่ยวก็ตาม ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ ( The United Nations ) ได้ออกมาเตือนถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนวิถีการผลิตมาเป็นเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนในอนาคต
นี้เป็นข้อเสนอใหม่จากการคุยในหัวข้อ”การค้าและทรัพยากรธรรมชาติ 2013 ตื่นตัวก่อนที่จะสายเกินไป” เป็นการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) The United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD) ที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) ซึ่งเป็นองค์กรสังกัดองค์การสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานขององค์การสหประชาชาติเพื่อสร้างความเจริญทางการค้าและการพัฒนา สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาการลงทุน การเงิน เทคโนโลยี การพัฒนาองค์กรธุรกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development)
ในรายงานเอกสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ การกล่าวถึงห้วงเวลาที่ต้องกลับไปสู่รากของเกษตรกรรม หรือการปลูกพืชอินทรีย โดยแนะนำให้ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ก่อนจะสายเกินไป ในรายงานนี้คล้ายกับในปี 2010 ที่ว่าด้วยหลักการเกษตรอินทรีย์เกษตรกรรายย่อย ว่าคือคำตอบของอาหารโลก มิใช่พืช GMOs หรือพืชเชิงเดี่ยวอีกต่อไป อีกทั้งยังกล่าวถึงความหลากหลายของการทำเกษตรมากขึ้นที่มากขึ้น
ในปลายทางแล้วเรื่องกฎหมายการค้าโลกควรจะมีการปฎิรูปอย่างจริงจัง แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้มีการถูกพูดถึงเช่นในความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก และการค้าสหรัฐฯสหภาพยุโรปและการลงทุนความร่วมมือ (TTIP)
โดยทางสถาบันมีการตั้งข้อสังเกตุว่าข้อเสนอนี้อาจตกค้างอยู่ในระหว่างการคุยเพื่อหาความร่วมมือเสริมสร้างความเข้มแข็งของบริษัทองค์กรการเงินข้ามโลก แทนที่จะกล่าวถึงความจำเป็นอย่างเริ่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรตามที่อธิบายไว้
ในรายงานยังสรุปอีกว่า มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างมีนัยยะที่สำคัญจากแบบแผนดั้งเดิม มาเป็นพืชเชิงเดี่ยว ไปสู่การพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตภายนอก ดังนั้นความจำเป็นที่ต้องปฎิรูปวิถีการผลิตที่ได้กล่าวไว้มีส่วนสำคัญมากสำหรับเกษตรอีนทรีย์
ที่มา : http://iamaslan.com