มะฮอกกานี ไม้ราคาและยาสมุนไพร

นานนับร้อยปีมาแล้วที่คนไทยคุ้นเคยกับไม้มะฮอกกานี ที่มีเนื้อไม้สีแดงสวยทำให้มีราคาค่อนข้างสูง บ้านไหนมีเฟอร์นิเจอร์จากไม้มะฮอกกานีจัดได้ว่าเป็นบ้านที่มีฐานะร่ำรวย นี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ทรงรับสั่งให้มีการปลูกมะฮอกกานีในเมืองไทยมากมายทั้งในกรุงเทพฯ และโดยเฉพาะที่จ.เพชรบุรี

คนไทยจำนวนไม่น้อยคิดว่าไม้มะออกกานีเป็นไม้ของไทย แต่แท้จริงเป็นไม้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีต้นกำเนิดที่ทวีปอเมริกากลาง และเป็นต้นไม้ที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกเพราะเนื้อไม้สวยงาม มีความทนทาน และใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นำมาผลิตเครื่องเรือนและของประดับตกแต่งได้มากมาย

ในอดีตช่วงต้นทศวรรษ 1970 ถึงปลายทศวรรษ 1990 บราซิลเป็นประเทศที่มีการค้าไม้มะฮอกกานีสูงที่สุด เคยมีการสำรวจพบว่าตั้งแต่บริเวณอเมริกากลางแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก จนถึงตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาใต้ พบไม้มะฮอกกานีในธรรมชาติราว 1,737.5 ล้านไร่ ซึ่ง คำนวณแล้ว มีถึง 57% ที่อยู่ในพื้นที่บราซิล แต่จำนวนไม้มะฮอกกานีราว 21% ถูกโค่นไปในปี ค.ศ. 2000 เพราะธุรกิจตัดไม้ส่งออกมากเกินไป จึงทำให้นานาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลบลาซิลลดการตัดไม้มะฮอกกานี ในปี ค.ศ. 2001 รัฐบาลบราซิลจึงห้ามการตัด การขนส่ง หรือทำการค้าขายไม้มะฮอกกานี ทำให้ประเทศโบลิเวียเริ่มมีบทบาทส่งออกไม้นี้แทน แต่ก็ทำได้ไม่นานเพราะตัดจนไม้ในธรรมชาติลดน้อยลง

การตัดต้นมะฮอกกานีถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศแถบทวีปอเมริกาใต้ แต่ความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้น ราคาจึงพุ่งสูงขึ้น จนมีคนเปรียบเทียบว่า ไม้มะฮอกกานีมีค่าดั่งทองคำ หรือมีการให้นิยามไม้ชนิดนี้ว่า “ทองคำสีแดง” (red gold) ปัจจุบันไม้มะฮอกกานีอยู่ในสภาพที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์ จึงทำให้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 ไม้มะฮอกกานีถูกบรรจุในอนุสัญญาไซเตส (CITES Appendix II) (CITES เป็นชื่อย่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกลสู้ญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในโลก ให้เป็นประโยชน์ของมนุษยชาติต่อไปในอนาคต)

ประวัติศาสตร์ไม้มะฮอกกานีเดินทางสู่ไทย อาจเป็นไปได้ว่ามีนักบวชต่างชาตินำเข้ามาปลูกในฟิลิปปินส์ ต่อมาก็แพร่มาสู่สยามประเทศตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ 3 หรือ 4 หรืออาจหลังจากนั้นเล็กน้อยแต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่เหตุการณ์สำคัญน่าจะมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้นำเข้าจากต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป และนำไปปลูกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2454 ที่ถนนราชดำเนิน ถนนดำรงรักษ์ ถนนราชดำริและถนนบริพัตร ในจังหวัดเพชรบุรี

มะฮอกกานีที่นำมาใช้ประโยชน์เนื้อไม้ (timber) มี 3 ชนิด (สปีชีส์) ได้แก่ 1) มะออกกานีใบเล็ก มีชื่อสามัญว่า West Indian mahogany มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Swietenia mahagoni (L.) Jacq. ในประเทศไทยพบค่อนช้างน้อย 2) มะฮอกกานีใบใหญ่ มีชื่อสามัญว่า Brazilian Mahogany, Broad-leaved Mahogany, False Mahogany, Hondurus mahogany มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Swietenia macrophylla King ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นชนิดนี้ และ 3) Swietenia humilis Zucc. เป็นชนิดที่ไม่พบในประเทศไทย

มะฮอกกานีใบใหญ่ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 6-10 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือเทาอมดำ แตกเป็นร่องตามแนวยาวและหลุดล่อนเป็นแผ่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ ใบย่อย 3-8 คู่ เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ผลเป็นแบบผลแห้งแตก รูปไข่ กว้าง 6-9 เซนติเมตร ยาว 14-18 เซนติเมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อสุกมีสีน้ำตาลอมเทา แตกจากโคนเป็น 5 พู เมล็ดเป็นแผ่น มีปีกรูปรียาว ปลายปีกบาง สีน้ำตาล หลายเมล็ด มะฮอกกานีมีอายุได้มากกว่า 200 ปี ในทางระบบนิเวศถือว่าเป็นไม้ที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของนกหลายชนิด น้ำหวานของดอกเป็นอาหารของผีเสื้อ ผึ้งและนกบางชนิด ผลเป็นอาหารของสัตว์ฟันแทะในฤดูฝน เมล็ดเป็นอาหารของแมลงหลายชนิดในฤดูร้อน

เนื้อไม้มีมูลค่าสูง แก่นไม้ออกแดงหรือชมพู สีจะเข้มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นตั้งแต่ชมพูเข้มไปจนถึงน้ำตาล กระพี้ไม้สีออกเหลือง เนื้อไม้มีคุณภาพและรูปร่างคงทน ขัดแล้วไม่แตกหักหรืองอ เหมาะในการทำ กรอบประตู หน้าต่างโค้ง เครื่องเรือน หรือทำโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรง ใช้ในเรือ ปูพื้น อัดเป็นไม้วีเนียร์ใช้ทำกีตาร์ สารแทนนินที่ได้จากเปลือกใช้เป็นสีย้อมและฟอกหนัง

ประโยชน์ด้านสมุนไพร พบว่าชาวพื้นเมืองในอเมริกาใต้รู้จักใช้เปลือกและเมล็ดของมะฮอกกานีบรรเทาอาการท้องร่วงและแก้ปวดฟัน และน้ำมันที่สกัดจากเปลือกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง นอกจากนี้มีงานศึกษาวิจัยหลายรายการที่แสดงให้เห็นว่า สารประกอบสำคัญที่พบในมะฮอกกานีใบใหญ่ คือ ลิโมนอยด์ (limonoids) และอนุพันธุ์ของลิโมนอยด์ ที่ก่อให้เกิดฤทธ์ทางเภสัชวิทยา เช่น ต้านจุลินทรีย์ ต้านอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ ต้านมะเร็ง ต้านเนื้องอก ต้านเบาหวาน แก้ปวด ต้านภาวะไขมันในเลือดต่ำ ต้านภาวะบิดมีตัว ต้านไวรัส ต้านมาลาเรีย ใช้เป็นสารกันบูดและกำจัดโลหะหนักจากร่างกาย

ในประเทศไทยส่วนใหญ่ปลูกมะฮอกกานีเป็นพืชให้ร่มเงา และมีการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ แต่ด้านยาสมุนไพรยังไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงมากนัก มะฮอกกานีจึงมีมูลค่าดั่งทองคำและยาดีเพื่อสุขภาพของเราด้วย.

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand