กลางปี 2565 มีจัดประชุมเพื่อจัดตั้ง คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ เทศบาลตำบลโรงช้างมีทั้งหมด 15 คน ประกอบไปด้วย พระสงฆ์ , ปราชญ์ หมอพื้นบ้าน, สาธารณสุข, เทศบาลตำบลโรงช้าง และตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการฯ ร่วมกันกำหนดทิศทางการทำงานพัฒนาและส่งเสริมการสร้างสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลโรงช้าง
จากที่แอดมินได้พูดคุยกับคณะกรรมการฯ ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นบ้าง
มีการอนุรักษ์สมุนไพร “ม่อนยา” ได้แก่ ม่อนยาวัดม่อนดอนแก้ว และโคกหนองนาโมเดลสมุนไพรวัดสันกอง
ให้บริการ “ยาต้มสมุนไพร” ตำหรับของตำบลโรงช้างในงานเทศกาลต่างๆ ในชุมชน ซึ่งชาวบ้านต่างให้ความสนใจมาดื่มยาต้มมากขึ้น
พอชาวบ้านให้ความสนใจมากขึ้น ทางคณะกรรมการฯ ก็จัดเป็น “กิจกรรมยาต้มเคลื่อนที่” ไปให้บริการในชุมชน ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ดูได้จากปริมาณน้ำที่ใช้ต้มยาเดิม 1-2 ถัง ปัจจุบันเพิ่ม เป็น 3-5 ถัง (1 ถังประมาณ 20 ลิตร)
ได้ฟังกรรมการฯ เล่าเรื่องยาต้มแล้ว..แอดมินก็อยากลองดื่มยาต้มดูบ้าง
ถ้ามีโอกาส แอดมินจะไปดูเบื้องหลังการต้มยา ไปล้วงเอาสูตรลับมาเล่าให้ฟังนะคะ
ได้ชุดองค์ความรู้จากหมอพื้นบ้าน และคนเฒ่าคนแก่ในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลโรงช้าง เรื่องยาตำรับแก้ปวดเมื่อย, ยาแก้ 5 ต้น และยาแก้ต้นเดียว (ยาป๊อด ยาก้อม)
มีโครงการสุขภาพดีด้วยวิถีหมอพื้นบ้าน โดยการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) เพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ผ่านกิจกรรมการออกหน่วยเคลื่อนที่บริการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาในพื้นที่ เช่น การนวด การแช่มือแช่เท้า ยาต้มสมุนไพร
มีผลิตภัณฑ์ลูกประคบ ยาหม่อง ยาต้ม ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมอเมืองโฮงจ้าง
ตำรับยาก็เป็นของคนในชุมชน สมุนไพรที่ใช้ก็ได้จาก “ม่อนยา” ในชุมชน หมอพื้นบ้านก็มีในชุมชน
เป็นการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนโดยคนในชุมชนอย่างแท้จริง
#มูลนิธิสุขภาพไทย #สร้างสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลโรงช้าง
#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.