ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการสิ่งแวดล้อม (4)

ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการสิ่งแวดล้อม (4)

เวลาพูดถึงป่าเราจะนึกถึงอะไร…ถ้าอยู่ในเมืองจะมองในแง่การใช้ประโยชน์ให้ความร่มรื่น เป็นพื้นที่สีเขียว เป็นสวนสาธารณะ
ถ้าเป็นต่างจังหวัดล่ะ? คนอีสานจะมองเรื่องการใช้ประโยชน์อีกแบบหนึ่ง และมีการแบ่งประเภทของป่า 3 ประเภท โดยใช้การบริหารจัดการป่าตามภูมิปัญญาอีสาน

ป่าที่อยู่ในเมือง ไม่ได้มีการแบ่งประเภท หรืออย่างมากที่เรารู้จักก็คือ ป่าทั่วๆ ไป กับป่าสงวนแห่งชาติ
แอดมินอยู่ในเมืองรู้จักเพียงแค่นี้  พอได้ทำงานเก็บข้อมูลและลงพื้นที่เหมือนได้เปิดโลก ได้เห็น “ป่า” ของจริง มันมีอะไรหลากหลายในป่าแห่งนั้น และรู้จักป่าที่หลากหลายมากขึ้น

ป่าประเภทแรกคือ “ป่าดอนหัวนาหรือป่าหัวไร่ปลายนา“
เป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ที่คนในหมู่บ้านเข้ามาครอบครองแบ่งปันกัน ป่าแบบนี้จึงไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ ชาวบ้านในหมู่บ้านจะรู้ดีว่าอาณาเขตของใครอยู่ตรงไหนโดยไม่ต้องทำการรังวัดปักหมุดอาณาเขตเลย

ป่าดอนหัวนา เป็นพื้นที่ที่มักจะอยู่สูงกว่าป่าอื่นๆ ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมไม่นิยมตัดไม้ใหญ่ไปใช้ประโยชน์
ป่าแห่งนี้จึงทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรม  นอกจากนี้ใบไม้หรือซากพืชซากสัตว์ที่ตายและทับถมกันก็กลายเป็นปุ๋ยชั้นดีและแหล่งสะสมจุลินทรีย์ขนาดใหญ่

เมื่อฝนตกลงมาจะทำให้เกิดการชะร้างนำเอาจุลินทรีย์เหล่านี้ไหลลงไปสู่ไร่นาเบื้องล่าง….นี่แหละภูมิปัญญา

แต่ปัจจุบันภาครัฐไม่เข้าใจวัฒนธรรมและภูมิปัญญานี้ จึงประกาศพื้นที่ป่าดอนหัวนาเกือบทั้งหมดให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสงวนแห่งชาติคืออะไร? ก็คือป่าของรัฐที่เราเข้าไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนก็โดนจับ
แต่ป่าดอนหัวนาเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลป่าของครอบครัว เราใช้ประโยชนในแบบของเรา เราจะใช้ประโยชน์ จะไม่ตัดก็ไม่มีใครมาจับเรา

ป่าดอนหัวนาที่เหลืออยู่เจ้าของที่ก็จะปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง

ป่าประเภทที่สอง คือ “ป่าชุมชน”
ป่าชุมชนนี้เป็นพื้นที่สาธารณะ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนในหมูบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน
ในพื้นที่ป่าชุมชนของคนอีสานมีการแบ่งย่อยอีก 3 ประเภท คือ ป่าดอนปู่ตา  ป่าช้าและป่าทำเล

มีคณะกรรมการป่าชุมชนเพื่อดูแลและจัดการป่าชุมชน มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับเพื่อใช้ในการจัดการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

ป่าประเภทที่สาม คือ “ป่าครอบครัว”
จัดว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของภูมิปัญญาอีสานที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของระบบนิเวศดั้งเดิม  และเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะโลกร้อน
โดยการนำเอาที่ดินที่เคยปลูกมันสำปะหลังมาปลูกป่าแทน ปลูกครอบครัวละ 1-2 ไร่ ปลูกไร่ละ 100 ต้น ต้นไม้ที่นำมาปลูกก็มีความหลากหลาย และแน่นอนว่า ความหลากหลายเหล่านี้ย่อมมีพืชสมุนไพรรวมอยู่ด้วยแน่นอน
ผลที่เกิดจากการปลูกป่าแบบนี้คือ ครอบครัวสามารถสร้างรายได้ตั้งแต่ปีที่2 ของการปลูก เจ้าของเก็บพืชผัก ไว้กินและจำหน่ายได้
เห็นมั้ยคะว่า เราสามารถสร้างป่าใกล้บ้านด้วยมือของเรา ช่วยโลกและช่วยตัวเราเองด้วย

 

 

#มูลนิธิสุขภาพไทย    #ภูมิปัญญาท้องถิ่น   #สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ   #สสส.

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand