วันนี้แอดมินเล่าถึงโรคที่เกิดกับคุณแม่ระยะหลังคลอดกันต่อนะคะ อีก 2 โรค ก็คือ
โรคติดเชื้อในมดลูก หมาดขาว (ตกขาว)
เกิดจากการคลอดลูกแล้วติดเชื้อ หมักหมมและไม่ได้ทำความสะอาด
คุณแม่ลูกอ่อนมีอาการ ปวดมดลูก มีน้ำเหลืองไหลออกมา มีตกขาว ปวดท้องน้อย ตกขาวสีเหลือง เป็นเมือกเหนียวอาจมีกลิ่นเหม็นเน่า มีอาการคัน มดลูกอักเสบ มดลูกหย่อน ปัสสาวะขัด มีน้ำเหลืองในตอนแรกจะใส ในระยะต่อไปจะมีสีเหลืองออกเขียว มีกลิ่นเหม็นคาว ต่อมาจะมีลักษณะคล้ายแป้งเหนียว คัน และมีกลิ่นเหม็น
คุณแม่หลังคลอดคนไหนมีอาการแบบนี้หรือใกล้เคียง…อย่าปล่อยทิ้งไว้นะคะ ต้องไปหาหมอ จะเป็นหมอที่โรงพยาบาลหรือแพทย์แผนไทยก็ได้ หากปล่อยทิ้งไว้ ส่งผลเสียต่อระบบภายในของคุณแม่แน่นอน
มียาหลายตำรับ แอดมินนำเสนอสัก 2 ตำรับนะคะ
ยาตำรับแรก ใช้สมุนไพรข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ว่านชักมดลูก ว่านนางคำ รากหญ้าคา รากเจตมูลเพลิง ดินปะสิวและสารส้ม ทั้ง 2 อย่างนี้ใช้เท่าหัวแม่มือ
ใช้สมุนไพรประมาณเท่ากัน ดินปะสิวและสารส้ม ใช้เท่าหัวแม่มือ ต้มรวมกัน ใช้น้ำดื่มครั้งละ 1-2 แก้ว ดื่มก่อนอาหาร วันละ 2 เวลา เช้าและเย็น
ห้ามกินของหมักดอง อาหารรสจัดและแอลกอฮอล์
ยาตำรับที่สอง ใช้สมุนไพรคือ หัวสับปะรด หญ้าหนวดแมว เอื้องหมายนา ขมิ้นหัวขึ้น ว่านชักมดลูก และว่านพยัพเมฆ
ใช้สมุนไพรอย่างละเท่ากันต้มรวมกันแล้วนำน้ำมาดื่มๆ ครั้งละ 1 แก้ว ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 เวลา คือ เช้า เที่ยง และเย็น
ห้ามกินของหมักดอง อาหารรสจัดและแอลกอฮอล์
โรคไม่มีน้ำนม
เกิดจากคุณแม่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ทำให้ไม่มีน้ำนมให้ลูก หรือถ้ามีน้ำนมก็จะเป็นน้ำนมที่มีรสเปรี้ยวคุณภาพไม่ดี หรือ มีน้ำนมน้อยไม่เพียงพอที่จะให้ลูกน้อย
มียาหลายตำรับที่รักษาและบำรุงสุขภาพคุณแม่หลังคลอด
แอดมินเอามาเป็นตัวอย่างสัก 2 ตำรับนะคะ ใครสนใจยาสมุนไพรบำรุงสุขภาพ ส่งข้อความมาคุยได้ค่ะ
ตำรับแรก ใช้สมุนไพร รากก้นครก รากต้องแล่ง รากหรือหัวเพ็ก รากเข็มแดง เครือหมากแตก (กระทงลาย)และเครือมะขามเครือ
ให้นำสมุนไพรทุกชนิด 1 ส่วนเท่าๆ กัน นำไปต้มรวมกันดื่มต่างน้ำหรือดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 เวลา เช้า เที่ยง และเย็น ครั้งละ 1-2 แก้ว
ยาตำรับที่สอง ใช้สมุนไพร ต้นนมสาว แก่นแดง แก่นจันทร์หอม ขิงไคต้น และอีตู่ต้น
ให้นำสมุนไพรทุกชนิดอย่างละ 1 ส่วนเท่าๆ กัน นำไปต้มรวมกันดื่มต่างน้ำ หรือดื่มก่อนอาหารวันละ 3 เวลา เช้า เที่ยง และเย็น ครั้งละ 1-2 แก้ว
ข้อห้ามที่ต้องปฏิบัติของยาทั้งสองตำรับคือห้ามกินส้มตำ ปลาร้า ของหมักดอง หน่อไม้ ไก่ เนื้อควาย
เห็นมั้ยคะว่า เรื่องการดูแลสุขภาพคุณแม่หลังคลอดเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องสังเกตและใส่ใจ หากมีอาการที่ไม่ปกติ ไม่แน่ใจรีบปรึกษาหมอจะเป็นหมอที่โรงพยาบาลหรือหมอพื้นบ้านก็ได้
สิ่งสำคัญคือตัวคุณแม่เองก็ต้องทำใจให้สบาย เพื่อให้สุขภาพใจที่เข้มแข็ง
พรุ่งนี้เรามาดูแลลูกน้อยกันบ้าง…มีโรคอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นกับลูกของเรา
#มูลนิธิสุขภาพไทย #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน #คนท้อง #สมุนไพรไทย #อยู่ไฟ #หมอตำแย #อยู่ไฟไทบ้าน
#หมอพื้นบ้าน #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน #สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.
#อบสมุนไพร #โรคในคุณแม่ตั้งครรภ์