เตรียมต้นไม้ ไว้กันฝุ่นละอองขนาดจิ๋วกันดีกว่า


ฝนมาแล้วสภาพอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นจิ๋ว หรือฝุ่น PM 2.5 จางหายไป แต่พยากรณ์ได้เลย อีก 7-8 เดือนข้างหน้าปัญหาฝุ่นจะมาอีกแน่นอน

ต้นเหตุหรือแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่เป็นปัญหามาจาก เขม่าควันจากรถยนต์ต่าง ๆ การเผาในที่โล่ง การผลิตไฟฟ้า จากโรงงานอุตสาหกรรม ถ้าให้ดีควรช่วยกันแก้ไขจากต้นเหตุเหล่านี้จะดีที่สุด แต่ในเวลาเดียวกันถ้าเราสามารถจัดการพื้นที่สีเขียวให้เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งมีการกำหนดไว้ว่า ชุมชนขนาดใหญ่ควรมีพื้นที่สีเขียว 10 ตร.ม/คน ชุมชนขนาดกลางควรมีพื้นที่สีเขียว 16 ตร.ม/คน ชุมชนขนาดเล็กควรมีพื้นที่สีเขียว 21 ตร.ม/คน กรุงเทพมหานครซึ่งถือว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ขณะนี้มีพื้นที่สีเขียวประมาณ 6.70 ตร.ม./คน เท่านั้นเอง ส่วนเมืองใหญ่ ๆ เมืองอื่นก็ลองไปตรวจสอบข้อมูลกัน

ถ้าได้มีพื้นที่สีเขียวกันมาก ๆ จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มออกซิเจนให้กับคนในชุมชนแล้ว ยังลดฝุ่นละอองทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กได้ด้วย ในระดับโลกก็เจอปัญหานี้จึงมีนักวิชาการหลายท่านนำเสนอข้อมูลในการปลูกต้นไม้เพื่อลดฝุ่นละอองที่ส่งผลต่อสุขภาพของคน เช่น ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 2000 มีงานวิจัยในประเทศอินเดียทำการศึกษาว่า พืชชนิดใดบ้างที่สามารถดูดซับฝุ่นละอองได้ดี โดยศึกษาการดูดซับฝุ่นละอองในเขตอุตสาหกรรมที่เมืองบังคาลอร์ การศึกษานี้พบว่ามีปัจจัยหลักหลายประการที่ทำให้ใบไม้สามารถดูดซับฝุ่นละอองได้ดี เช่น พื้นที่ผิวของใบ ขนที่ผิวใบ ความหยาบของผิวใบ ลักษณะทรงพุ่ม เป็นต้น

ผลจากการศึกษานั้น พบว่าพันธุ์ไม้ที่สามารถดูดซับฝุ่นละลองได้ดีตามลำดับ ดังนี้ ทองกวาว (Butea monosperma (Lam.) Taub.) ยูคาลิปตัส (Eucalyptus globulus Labill.) ตะขบฝรั่ง (Muntingia calabura L.) มะม่วง (Mangifera indica L.) มะขาม (Tamarindus indica L.) สีเสียดอินเดีย (Acacia nilotica (L.) Delile)

ในปี ค.ศ. 2006 มีรายงานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง ทำการศึกษาต้นไม้กับกับการดูดซับฝุ่นละออง โดยทำการสำรวจพันธุ์ไม้ใน 2 เมือง คือ เมืองบังคาลอร์และเมืองโคลาร์ ในประเทศอินเดีย พบว่าต้นไม้ 16 ชนิด ที่มีศักยภาพในการดูดซับฝุ่นละอองตามลำดับ ดังนี้ รกฟ้าขาว (Terminalia arjuna (Roxb. ex DC.) Wight & Arn.) เหลืองอินเดีย(Handroanthus chrysanthus (Jacq.) S.O.Grose) ยูคาลิปตัส(Eucalyptus globulus Labill.) มะม่วง(Mangifera indica L.) นิโครธ(Ficus benghalensis L.) ต้นโพ(Ficus religiosa L.) สีเสียดอินเดีย(Acacia auriculiformis Benth.) คูน(Cassia fistula L.) สัก(Tectona grandis L.f.) ฝรั่ง(Psidium guajava L.) กลุ่มไม้พะยูง(Dalbergia species) สนอินเดีย(Grevillea robusta A.Cunn. ex R.Br.) สะเดา(Azadirachta indica A.Juss.) ปีบ(Millingtonia hortensis L.f.) อโศกอินเดีย(Polyalthia longifolia (Sonn.) Thwaites) มะขามแขก (Chloroleucon dumosum (Benth.) G.P.Lewis)

ต่อมาในปี ค.ศ. 2013 ในประเทศอินเดียอีกเช่นกัน ทำการปลูกต้นไม้ตามข้างถนน เมื่อต้นไม้เจริญเต็มที่ได้ทำการวัดการดูดซับฝุ่นละออง พบว่าไม้ที่นำมาปลูกที่มีศักยภาพในการดูดซับฝุ่นละอองที่ดีคือ ไม้สัก (Tectona grandis L.f.)  หว้า (Syzygium cumini (L.) Skeels) กระทุ่มหรือตะกู (Neolamarckia cadamba (Roxb.) Bosser).

ล่าสุดในปี ค.ศ. 2016 มีรายงานการศึกษาพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เจริญเติบโตตามข้างถนน ใน 2 บริเวณ คือบริเวณที่มีฝุ่นละอองหนาแน่กับบริเวณที่มีฝุ่นละอองเบาบาง ผลจากกรศึกษาพบว่า ไม้ที่มีศักยภาพในการดูดซับฝุ่นละออง ได้แก่ สะเดา (Azadirachta indica A.Juss.) ทองกวาว (Butea monosperma (Lam.) Taub.) นิโครธ (Ficus benghalensis L.) ประดู่อินเดีย (Pterocarpus marsupium Roxb.) รกฟ้าขาว (Terminalia arjuna (Roxb. ex DC.) Wight & Arn.) ประดู่แขก (Dalbergia sissoo DC.) และต้นโพ (Ficus religiosa L.)

ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีการทดลองเช่นกัน โดยการปลูกต้นไม้ล้อมรอบฟาร์มเลี้ยงไก่พบว่าสามารถลดฝุ่นและกลิ่นลงได้ถึงร้อยละ 65 และในประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดลรายงานว่าต้นไม้เหมาะสมในการปลูกเพื่อใช้ดูดซับฝุ่นละอองมีอยู่ 35 ชนิด โดยศักยภาพในการดูดซับออกเป็น 5 โดยแบ่งเป็น ระดับ 1 ถึง ระดับ 5 จากประสิทธิภาพต่ำที่สุดถึงมากที่สุด พบว่า

ระดับ 5 ยังไม่พบพืชที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นได้มากในระดับนี้

ระดับ 4 ได้แก่ ทองอุไร ตะขบฝรั่ง เสลา จามจุรี และแคแสด

ระดับ 3 ได้แก่ สร้อยอินทนิล เล็บมือนาง กะทกรก ไผ่รวก แก้ว หางนกยูงไทย, กรรณิการ์ คริสตินา ข่อยโมกมัน พืชสกุลชงโค (ชงโค กาหลง ส้มเสี้ยวฯ)ตะแบก และอินทนิล

ระดับ 2 ได้แก่ พวงชมพู อัญชัน พวงคราม วงศ์ส้มกุ้ง ฉัตรพระอินทร์ วาสนา โมกบ้าน สั่งทำ โพทะเลพฤกษ์ ขี้เหล็ก เลือดปอกระสา ตะลิงปลิง ขี้เหล็กบ้าน ชมพูพันธ์ทิพย์ และพังแหร

ระดับ 1 ได้แก่ โมกหลวง

ที่น่าตื่นเต้นกว่านี้ ในประเทศอิหร่านมีการศึกษาหาความสัมพันธ์ของใบไม้กับการดูดซับโลหะหนักด้วย พบว่าต้นไม้ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platanus orientalis L. (ต้นไม้ชนิดนี้ไม่มีรายงานว่าพบในประเทศไทย) การศึกษาบอกว่าต้นไม้ชนิดนี้ช่วยลดโลหะหนักคือ ทองแดง เหล็ก เมงกานีส นิเกิล ดีบุกและสังกะสี ซึ่งการศึกษาบอกว่าช่วยดูซับโลหะหนักได้ดีทุกชนิดยกเว้นดีบุก

สถาบันการศึกษา กลุ่มองค์กรชุมชนต่างๆ น่าจะมาช่วยกันศึกษาวิจัยพันธุ์ท้องถิ่นชนิดไหนช่วยลดฝุ่นละออง หรือในขณะนี้เข้าหน้าฝน ช่วยส่งเสริมให้ปลูกต้นไม้ตามรายการข้างต้นที่มีให้ประเทศไทยกันมาก ๆ เพื่อช่วยดูดซับฝุ่นละอองในอากาศ ปลูกต้นไม้คนละไม้คนละมือ น่าจะดีกว่าคอยหาซื้อหน้ากากกันฝุ่น และขอให้หน่วยงานรัฐช่วยเคร่งครัดมาตรการควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่นด้วยนะ.

บทความที่เกี่ยวข้อง

‘ไทย-สิงคโปร์’แข่งกันปลูกต้นไม้ดีกว่า

admin 5 เมษายน 2019

ความโดดเด่นอีกอย่างของสิงคโปร์ คือ เรื่องต้นไม้ใหญ่ ตลอ […]

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand