ยาแลกไข่พบ “ยาลดไขมัน-ลดความดัน-แก้ไข้” เยอะสุด

สาธารณสุขเชียงใหม่เผยผลโครงการ “ไข่แลกยาเก่า” แลกไปแล้ว 8,000 ฟอง ได้ยาแล้วกว่า 100,000 เม็ด พบเป็นยาสลายไขมัน-ความดัน-แก้ไข้บรรเทาปวดมากที่สุด เผยยาที่ได้ตรงตามข้อสันนิษฐานว่าประชาชนรับยารักษาโรคไม่ติดต่อไปใช้มากเกินจำเป็น เตรียมนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนปรับระบบบริหารยา-พฤติกรรมการใช้ยาต่อ

ที่โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ นายแพทย์วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงผลการดำเนินงานตามโครงการ “ไข่แลกยาเก่า” ซึ่งดำเนินการตั้งแต่วันที่ 2-5 ก.ค. 2555 ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขว่า ล่าสุดมีผู้นำยามาแลกไข่แล้วประมาณ 1,000 คน คิดเป็นไข่ที่แลกไปแล้วจำนวน 8,000 ฟอง ได้ยากลับคืนมาประมาณ 100,000 เม็ด

นายแพทย์วัฒนากล่าวว่า โครงการ “ไข่แลกยาเก่า” ของจังหวัดเชียงใหม่ได้กำหนดกติกาการนำยามาแลกไข่เอาไว้ว่า ครอบครัวที่นำยา 3 ประเภทแรกมาแลกจะได้รับไข่จำนวน 5 ฟอง ส่วนยาประเภทต่อไปจะเพิ่มไข่ให้อีก 1 ฟองต่อยา 1 ประเภท แต่จะให้ครอบครัวละไม่เกิน 10 ฟอง โดยมีโรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลอำเภอทั้ง 24 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอีก 266 แห่งเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปซื้อไข่ และจัดให้ประชาชนในพื้นที่นำยาเก่าที่ได้จากสถานบริการของรัฐและเอกชน ยกเว้นยาสมุนไพรมาแลกไข่ตามโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานพบว่ายาที่ประชาชนนำมาแลกไข่มากที่สุดได้แก่ยาที่ใช้ลดไขมันในเลือด ยาลดความดันโลหิตสูง และยาบรรเทาปวดลดไข้ ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่ใช้รักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ต้องรับยาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสาเหตุที่มียาเก่าเหลือตกค้างตามบ้านเรือนซึ่งได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ คือ

1. การซื้อยากินเอง กินแล้วอาการไม่หาย 2. นำยาของคนอื่นที่มีอาการป่วยคล้ายกันมาใช้แทน 3. การเก็บยาไม่ถูกต้อง ทำให้ยาเสื่อมสภาพ 4. ประชาชนไม่ดูวันหมดอายุยา 5. การลืมกินยาตามกำหนดเวลา 6. เข้ารับการรักษาในหลายโรงพยาบาล ทำให้รับยาหลายขนานซ้ำซ้อนกัน และ 7. ประชาชนพึ่งยามากกว่าพึ่งตนเอง เพราะเชื่อว่าหากป่วยแล้วมียารักษา

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่กล่าวต่อไปว่า วัตถุประสงค์ของโครงการ “ไข่แลกยาเก่า” นั้น มีขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพต่อการรักษาอาการเจ็บป่วย เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าคนไทยใช้ยาเฉลี่ยปีละ 100,000 ล้านบาท

โดยโครงการนี้จะทำให้ทราบถึงปัญหาของการใช้ยาของคนไทย ว่ามียาตกค้างตามบ้านเรือนจำนวนเท่าใด หลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาปรับระบบบริหารจัดการยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลออกให้ความรู้เรื่องยาและปรับแก้พฤติกรรมการกินยาของประชาชน เพิ่มระบบการปรึกษาการใช้ยา

รวมทั้งมอบให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นหมอประจำครอบครัวดูแลคนละ 300 ครัวเรือน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขติดตามดูแลเรื่องการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้การใช้ยาของประชาชนมีประสิทธิภาพและเพิ่มความคุ้มค่ายิ่งขึ้น

ที่มาข้อมูล :ASTVผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/Local

บทความที่เกี่ยวข้อง

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand