ใช้สมุนไพรให้ถูกส่วน

ขอบคุณภาพจาก : https://sireepark.mahidol.ac.th/sireeherb/index.php?page=search_detail

สมุนไพรให้คุณมาก แต่หากใช้พลาดก็เกิดโทษได้ หรือถ้าไม่เกิดผลเสียก็ไม่ได้ผลดีตามสรรพคุณยาที่มี สิ่งนี้ผู้รักและสนใจสมุนไพรควรเรียนรู้เพื่อการใฃ้ประโยชน์เต็มที่และป้องกันการเกิดอันตรายด้วย

ยาไทยหรือสมุนไพรที่นำมาปรุงเป็นทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอางนั้น มักนำมาจากส่วนของพืชได้อย่างหลากหลาย เช่น ราก ต้น ใบ ดอก ผล เปลือก เปลือกราก ปุ่มปมบนราก ซึ่งการนำส่วนของพืชสมุนไพรมาใช้แต่ละส่วนนั้น เพราะมีสรรพคุณที่แตกต่างกันนั่นเอง และในตำราหรือจากภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สืบทอดมาจะระบุส่วนของพืชสมุนไพรที่จะนำมาปรุงยา หากใช้ผิดส่วนอาจจะไม่เกิดประโยชน์แล้วอาจมีผลเสียได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น การใช้ดอกและเกสรดอกไม้ ปกติส่วนของดอกจะมีกลีบดอก ร่วมกับเกสร เช่น ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกคำเงาะ ดอกคำฝอย ดอกกระดังงา ซึ่งจะมีสรรพคุณบำรุงโลหิต แต่บางครั้งตำรับยาหากระบุการใช้เกสร จะหมายถึงส่วนที่อยู่ในดอก นำมาใช้เฉพาะเกสร เช่น เกสรบัวหลวง เกสรบุนนาค เกสรดอกสารภี เกสรสัตตบงกช เกสรสัตตบรรณ ในตำรับยาไทยที่มีการใช้เกสรดอกไม้ก็มักมีสรรพคุณคล้ายยาหอมบำรุงจิตใจ และยังแก้ไข้พิษร้อน ถอนพิษไข้ด้วย

ตัวอย่างการใช้ส่วนต่างกันของพืชสมุนไพรเป็นยา แต่ละส่วนมีสรรพคุณแตกต่างกัน เช่น ต้นมะขาม หากนำ ใบมาใช้จะมีสรรพคุณขับลมในลำไส้ แก้บิด แก้ไอ แก้หวัด คัดจมูก เนื้อในฝักมะขาม มีสรรพคุณ ขับเลือดและฟอกโลหิตสตรี ที่คลอดบุตรใหม่ ๆ แก้สันนิบาตหน้าเพลิง เป็นยาระบาย เปลือกเมล็ดมะขาม มีรสฝาด ช่วยปิดธาตุ สมานแผล แก้บิด ปวดเบ่ง แก้ท้องร่วง รักษาแผลในปากและคอ สิ่งนี้คือภูมิปัญญาที่แสดงให้เห็นว่าส่วนที่นำมาใช้จะมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน จะนำมาใช้หรือพัฒนาก็มีศักยภาพที่แตกต่างกัน อันที่จริงลมหนาวกำลังมา แต่โบราณจะใช้เนื้อในมะขามมาอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาดและป้องกันผิวแห้ง ปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและสบู่จากมะขามขายทั่วไป

ต้นปีบ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่นำมาเรียนรู้กัน หากพลิกตำรับตำราต่างๆ จะระบุสรรพคุณไว้ว่า ดอกปีบใช้บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แต่ถ้านำมาทำ ดอกแห้ง มีรสหวานขมหอม ทำมวนเป็นบุหรี่สูบใช้แก้หืด แก้ริดสีดวงจมูก แก้ลม บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง ราก รสเฝื่อน บำรุงปอด แก้หอบ รักษาวัณโรค แต่ในภูมิปัญญาของการแพทย์พื้นบ้าน หรือ ยาพื้นบ้าน พบว่าการนำปีบไปใช้ในภูมิภาคท้องถิ่นที่แตกต่างกับตำรายาแผนไทย และยังเรียกชื่อยาแตกต่างกัน

ตัวอย่าง ภาคเหนือเรียกว่า กาสะลอง และเมื่อสืบค้นในเอกสารพับสาและใบลาน มักจะนำปีบมาใช้เข้ายาร่วมกันหลายชนิด เช่น ยาบวมพอง ให้เอากาเก็ด (คัดเค้า) กาสะลอง รากอินกา หญ้าจิยอบ (ไมยราพ) ต้มอาบและกินด้วย ในยาริดสีดวงจมูก ใช้ดอกและใบกาละลอง ผสมยาอื่นหั่นตากแดด ทำเป็นมวนแบบบุหรี่สูบรักษา ยาตัดรากสาน (เป็นก้อนหรือลูก ภายในร่างกาย) แก้พยาธิ (คือพยาธิสภาพ) ได้หลายอย่าง ตัวยาประกอบด้วย เอาพริกน้อย(พริกไทยดำ) 2 บาท ดีปลี 2 บาท หัวขิง 2 บาท หอมเทียม 2 บาท ปูเลยแห้ง(ไพล) 10 บาท เข้าหมิ้น (ขมิ้น) แห้ง 10 บาท หัวกำบิดแห้ง (กระทือ) 10 บาท เปลือกขี้เหล็กเผือก 10 บาท เปลือกกาสะลองแห้ง 10 บาท ตำผงผสมกับเกลือตัดพอเค็ม แล้วให้กินกับน้ำไม้ฝางต้ม กินเวลาเข้านอนทุกวัน

ยาขี้คู่ (โรคหืด) เอาง้วนหมู กาสะลอง ไม้ส้มเห็ด ขางหัวหมู ตำผงแล้วปั้นเป็นลูกก้อน เกลือนางตัด ถ้าบ่มีเอาเกลือเรากินทุกวันคั่วเสีย ตัดน้ำมะนาวเป็นน้ำจำเริญ ยาปิแง้น(โรคลมแดดที่มีอาการเป็นบมล้มฟาดหงายไปทางหลัง) เอาหอยทะระ เบี้ย ปู (พลู) เผาเป็นด่างบดใส่น้ำกิน แล้วเอาพริกขิง 1 บาท ผิวไม้ไผ่ 10 ผิว บง 10 ดองดึง 20 ใบกาสะลอง เป็นน้ำทาพื้นตีนมือตังมวลคืนชื่อมาแลฯ ฝียังนม เอา รากกาสะลอง รากผาแป้ง ฝนตกน้ำจ้าวกินทาด้วย นอกจากนั้น ยังใช้ในโรคลมพราย โรคสันนิบาตต่าง ๆ ยาออกตุ่มในคอ โดยใช้เปลือกกาสะลอง

ในภูมิปัญญาทางล้านนายังใช้กาสะลอง เป็นยาหลักดังมีคำกล่าวถึงวัตถุดิบทางยาที่ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย คือไม้ 7 ชนิด ได้แก่ “กา สัก เหล็ก ดูก กัง จาว ฝาง” ซึ่งหมายถึง กาสะลอง ไม้สัก ขี้เหล็ก มะดูก มะกัง ขจาว และฝาง ดังนั้น ปีบ จึงเป็นวัตถุดิบสมุนไพรที่เป็นหลักทางยาบำรุง และมีข้อสังเกตว่าการใช้ปีบหรือกาสะลองในตำราที่ยอมรับเป็นทางการมีไม่มากเท่ากับยาพื้นบ้าน โดยเฉพาะความรู้ดั้งเดิมของชาวล้านนาที่มีการใช้โรคและอาการหลากหลาย

หากดูความเหมือนก็พบว่าความรู้ทุกท้องถิ่นนิยมใช้ดอกเป็นยาบำรุง และใช้ดอกและรากเกี่ยวกับอาการทางปอด หืด โดยนำมาทำเป็นบุหรี่สูบ แต่ความรู้พื้นบ้านยังสามารถใช้ใบและเปลือก แก้โรคสานและโรคอื่นๆ ปีบเป็นยาพื้นบ้านในประเทศทางเอเชียด้วย ซึ่งมีการใช้ในลักษณะเดียวกันคือใช้ราก ดอก เป็นยาบำรุงปอด วัณโรค แก้หืด แก้ไอ การหายใจผิดปกติ นอกจากนี้ปัจจุบันมีงานวิจัยถึงสารสำคัญในปีบ พบว่าหลากหลายเช่น คูเมสแตน (coumestans), พอลีเปปไตด์ (polypeptides), พอลีอะเซทีลีน (polyacetylenes), อนุพันธ์ของไทโอฟีน (thiophenederivatives),สเตียรอยด์ (steroids), ไทรเทอร์พีน (triterpenes), ฟวาโวนอยด์ (flavonoids), ซาโปนีน (saponin), แทนนิน (tanin), เอกลิบทีน (ecliptine) และอื่น ๆ

สมุนไพรให้คุณมาก การเรียนรู้การใช้ให้ถูกต้น ถูกส่วนของพืชและถูกวิธี ก็จะได้ฤทธิ์หรือสรรพคุณยาที่ดีและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย.

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand