เปิดผลสำรวจพบสารพิษตกค้างกว่า 50% ในผักผลไม้

เปิดผลสำรวจ “เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ” พบสารพิษตกค้างกว่า 50% ในผักผลไม้กว่าทั้งในห้างค้าปลีก – ตลาดทั่วไป ระบุเครื่องหมาย ” Q “เยอะสุด

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Thai-PAN)เปิดเผยผลการสุ่มตรวจผัก ผลไม้ระหว่างเดือนมีนาคม- พฤษภาคม 2557 จากตลาดทั่วไป ห้างค้าปลีกผลปรากฏว่ามีสารตกค้างในสัดส่วนที่สูงมากทั้งในห้างค้าปลีก ตลาดทั่วไป รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน Q หรือเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อแสดงถึงความมีคุณภาพตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัย

โดยสารทั้ง 5 ตัว ที่พบตกค้างในผักได้แก่ คาร์โบฟูราน เมโทมิล อะซีเฟต ไดเมโทเอต และคาร์เบนดาซิม สารเคมีเหล่านี้เป็นสารประเภทดูดซึม (systemic) หมายถึง สารเคมีกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการดูดซึมเข้าไปในต้นพืชโดยอาจเข้าไปทางราก ทางใบ กิ่ง ลำต้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชที่สัมผัสกับสาร แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่างๆ (สารดูดซึมมักมีเป้าหมายในการป้องกันกำจัดแมลงจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยแป้ง และแมลงหวี่ขาว รวมถึงกำจัดโรคพืชด้วย) ซึ่งสารประเภทนี้มีจำนวนมาก และใช้ในพืชหลากหลายชนิด ดังนั้นหากผู้บริโภคซื้อผักผลไม้ที่มีสารประเภทนี้มาบริโภค หากสารยังตกค้างอยู่ที่ผิวก็อาจขจัดออกได้บ้างด้วยการล้าง แต่สำหรับสารที่ถูกดูดซึมและตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อพืชแล้วและยังสลายตัวไม่หมดในวันที่เราทาน ก็ไม่สามารถขจัดออกได้ด้วยการล้าง ซึ่งเป็นสารเคมีที่อันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ(อ่านเพิ่มเติม ทำไมต้องระงับการขึ้นทะเบียนสารเคมี 4 ชนิด)

ตามที่พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2551 ได้กำหนดให้ทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรทั้งหมดกว่า 27,000 รายการ ต้องขึ้นทะเบียนใหม่ทั้งหมด เพื่อควบคุมการนำเข้าและการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชมิให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อประเทศ การดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวเปิดโอกาสให้กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุมวัตถุอันตรายทางการเกษตร สามารถปฏิเสธการขึ้นทะเบียนสารเคมีที่มีความอันตรายสูงและมีผลกระทบเป็นวง กว้าง เพื่อปกป้องสุขภาวะของเกษตรกรและประชาชนไทยโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวน 4 ชนิดได้แก่ คาร์โบฟูราน (ฟูราดาน) เมโทมิล (แลนเนท) ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น ซึ่งมีพิษร้ายแรงและหลายประเทศทั่วโลกห้ามใช้และปฏิเสธการขึ้นทะเบียน

อ่านรายละเอียดผลการสำรวจ
Thai PAN Monitor 2557-ThaiPublica by thaipublica

ที่มา : เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) 18 ส.ค.2557

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผักผลไม้มากกว่าครึ่ง! มีสารกำจัดวัชพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐาน

admin 6 เมษายน 2019

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีจ […]

คนไทย 74% กินผักผลไม้ไม่เพียงพอ

admin 6 เมษายน 2019

สสส.เผยคนไทย 74% กินผัก-ผลไม้ไม่เพียงพอ ชวนคนไทยปลูกผัก […]

เผยผลการตรวจสอบสารพิษตกค้างผักผลไม้ ประจำปี 2559

admin 6 เมษายน 2019

วันนี้ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) […]

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand