เด็กในเมืองเป็นโรคอ้วนสูงหวั่นเสี่ยงเบาหวาน-ระบบหายใจ

ปัจจุบันปัญหาโรคอ้วนในเด็กไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยจากข้อมูลการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่า เด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วนร้อยละ 17 เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ที่พบเด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.6 หลักฐานทางการแพทย์ระบุชัดเจนว่าเด็กที่อ้วนจะมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่อ้วน 1 ใน 3 และหากอ้วนในวัยรุ่นจะมีโอกาสเสี่ยงสูงถึง 2 ใน 3

โรคอ้วนจะส่งผลให้เด็กเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระบบทางเดินหายใจ คือ หยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ทำให้หลับทุกครั้งเมื่อนั่ง ปัญหาเกี่ยวกับกระดูก ปวดหัวเข่า กระดูกงอและขาโก่ง

นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชิดชูเกียรติด้านการจัดการลดปัญหาภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน ว่า จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในปี 2555 โดยใช้ดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง พบภาวะอ้วน ร้อยละ 17 ดังนั้น สธ.ได้กำหนดเป้าหมาย เพื่อลดปัญหาภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนให้ต่ำกว่าร้อยละ 15 ภายในปี 2560 และผลจากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 6-14 ปี ในภาคการศึกษาที่ 2 ภาพรวมของประเทศพบว่าลดลงเหลือร้อยละ 8.6 แต่ในระดับจังหวัดและอำเภอ โดยเฉพาะในเขตเมืองยังพบว่ามีภาวะอ้วนสูงถึงร้อยละ 20 ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อมิให้ปัญหาขยายวงกว้างมากขึ้น

สาเหตุการเกิดโรคอ้วนในเด็กมาจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมและขาดการออกกำลังกาย โดยพบว่าเด็กวัยเรียนกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อน กินข้าวต่อคน ซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือควรกินผักวันละ 12 ช้อนกินข้าว และกินผลไม้ทุกวันเพียงร้อยละ 26.8 สำหรับการออกกำลังกายพบว่าเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำคือ 60 นาทีต่อวัน และสัปดาห์ละ 3 วัน มีเพียงร้อยละ 24.3 ในขณะที่ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการดูโทรทัศน์ เล่นเกม และคอมพิวเตอร์ ซึ่งเกินกว่าวันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้เด็กมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปี
ทั้งนี้ ใน 1 วันเด็กควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และ มีผลไม้หลังอาหารทุกมื้อ หรือจะกินเป็นอาหารว่าง แทนขนมขบเคี้ยว และให้ดื่มนมทุกวัน วันละ 2 แก้ว เด็กที่ยังไม่อ้วนให้ดื่มนมรสจืดแทนนมรสต่างๆ หากเด็กเริ่มอ้วนหรืออ้วนแล้วให้ดื่มนมพร่องมันเนยแทน ลดอาหารประเภทขนมเบเกอรี่ต่างๆ พิซซ่า เค้ก ลดน้ำหวานน้ำอัดลม และให้เด็กออกกำลังกายทุกวัน วันละ 60 นาที หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ก็จะช่วยลดภาวะอ้วนและมีสุขภาพดีได้

ที่มา : ข่าวสด 31 ก.ค.2557

บทความที่เกี่ยวข้อง

สร้างของเล่นพัฒนาเด็กพิการ‬

admin 23 กุมภาพันธ์ 2019

การเล่นเป็นกระบวนการการพัฒนาของร่างกาย จิตใจ สติปัญญา แ […]

ใช้ “นิทาน” ช่วยพัฒนาการเด็กออทิสติก

admin 23 กุมภาพันธ์ 2019

นางสกุลศรี บุญโชติอนันต์ คณะทำงานโครงการนิทานสร้างได้ ก […]

ห้ามใช้ “มือถือ-แอปฯ” เลี้ยงลูกต่ำกว่า 3 ขวบ สมองไม่จัดลำดับเรียนรู้

admin 23 กุมภาพันธ์ 2019

พญ.พรรณพิมล วิปุรากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจ […]

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand