สิทธิเด็ก

สิทธิเด็กคืออะไร
” สิทธิ ” หมายถึง ทุกสิ่งที่ยุติธรรม และเป็นสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล ที่มีหรือมีความสามารถที่จะมี

” สิทธิเด็ก ” เป็นสิทธิสากล (Universal Rights) และเป็นสิทธิเด็ดขาด (Absolute Rights) ที่ต้องได้รับการรับรองและคุ้มครอง อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ไม่ได้ใช้เพื่อการเรียกร้องสิทธิเด็ก แต่ใช้เพื่อการพัฒนาเด็กทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมสติปัญญา ให้เจริญเติบโตรอบด้านเต็มศักยภาพ และไม่เลือกปฏิบัติด้วยการผนึกกำลังร่วมกันในทุกสถานบันทั่งโลก ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางสังคม วรรณะ เพศ ผิด

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นผลมาจากการทำงานของคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษชนขององค์การสหประชาชาติ และได้ประกาศใช้ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2533 และประเทศไทยได้ลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2535

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ มีทั้งสิ้น 54 ข้อ โดย 40 ข้อแรก เป็นสาระสำคัญด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ 14 ข้อหลัง เป็นส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการพันธกรณีที่ระบุไว้
เด็กในความมุ่งหมายของอนุสัญญานี้ หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยกเว้นผู้ที่แต่งงานถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ

สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival)
ครอบคลุมถึงสิทธิของเด็กที่จะมีชีวิต และสิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม อันรวมถึง ที่อยู่อาศัยโภชนาการและยารักษาโรค
– สิทธิในการมีชีวิตรอดและส่งเสริมชีวิต
– ได้รับโภชการที่ดี
– ได้รับความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม
– ได้รับการบริการด้านสุขภาพ
– การให้ทักษะชีวิตที่ถูกต้อง
– การให้ที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดู

สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development)
ครอบคลุมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เด็กมีความต้องการจะพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพเช่น สิทธิที่จะได้รับการศึกษา การเล่น การพักผ่อนหย่อนใจ มีกิจกรรมด้านวัฒนธรรม เข้าถึงข้อมูลและมีเสรีภาพทางความคิด สติปัญญาและศาสนา
– ได้รับการศึกษาทั้งใน/นอกระบบ
– เข้าถึงข่าวสารที่เหมาะสม
– เสรีภาพในความคิด มโนธรรม และศาสนา
– พัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งทางสังคมและศาสนา
– พัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งทางสังคมและจิตใจ
– พัฒนาสุขภาพร่างกาย

สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง (Right of Protection)
ครอบคลุมสิทธิทุกประการที่จะปกป้องคุ้มครองเด็ก จากการถูกล่วงละเมิดทุกประเภท การทอดทิ้งและการบ่อนทำลาย เช่น การดูแลเด็กที่อพยพเป็นกรณีพิเศษ ปกป้องจากการถูกทรมาน การล่วงละเมิดในระบบการศาล เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่ใช้แรงงานเด็ก ยาเสพติด และการล่วงละเมิดทางเพศ
– การคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ
– การล่วงละเมิด การทำร้าย การกลั่นแกล้งรังแก
– การถูกทอดทิ้ง ละเลย
– การลักพาตัว
– การใช้แรงงานเด็ก
– ความยุติธรรมต่อผู้เยาว์
– การเอารัดเอาเปรียบทางเพศ

สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation)
ให้ สิทธิแก่เด็กที่จะมีบทบาทในชุมชนและชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นทุกประการ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง เพื่อให้สามารถเข้าสังคมสโมสรได้อย่างสงบสุข เพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วม เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบในอนาคต
– แสดงทัศนะของเด็ก
– เสรีภาพในการติดต่อข่าวสารข้อมูล
– มีบทบาทในชุมชน
– แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก

สิทธิที่เด็กควรได้รับ

1. เด็กควรจะได้รับการเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง บุคคล หรือครอบครัว ที่ให้ความรักความเข้าใจ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทุกด้านของเด็ก
2. เด็กควรได้รับอาหารอย่างน้อยที่สุดตามความเหมาะสมแก่ร่างกายของเขาและเธอ
3. ควรมีการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก
4. เด็กควรมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
5. เด็กควรได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย
6. เด็กควรได้รับการพัฒนาให้มีความสุขกับชีวิต และรักษาเอกลักษณ์และมรดกของชาติไว้
7. เด็ก ควรได้รับการความรู้และการฝึกอบรมเพื่อเป็นการเตรียมสู่การประกอบอาชีพตาม ความเหมาะสมกับ ทัศนคติ ความสามารถและความสนใจของเขาและเธอ
8. เด็กควรได้รับโอกาส และสามารถแสดงความคิดเห็นของเขาและเธอ
9. เด็กควรได้รับการบริการขั้นพื้นฐานจากทั้งภาครัฐและเอกชน
10. เด็กควรจะมีโอกาสรับรู้และปกป้องสิทธิและประโยชน์

ข้อมูลจาก มูลนิธิเด็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง

สร้างของเล่นพัฒนาเด็กพิการ‬

admin 23 กุมภาพันธ์ 2019

การเล่นเป็นกระบวนการการพัฒนาของร่างกาย จิตใจ สติปัญญา แ […]

ใช้ “นิทาน” ช่วยพัฒนาการเด็กออทิสติก

admin 23 กุมภาพันธ์ 2019

นางสกุลศรี บุญโชติอนันต์ คณะทำงานโครงการนิทานสร้างได้ ก […]

ห้ามใช้ “มือถือ-แอปฯ” เลี้ยงลูกต่ำกว่า 3 ขวบ สมองไม่จัดลำดับเรียนรู้

admin 23 กุมภาพันธ์ 2019

พญ.พรรณพิมล วิปุรากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจ […]

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand