จากภาคใต้พาขึ้นเหนือไปที่ อ.เมือง จ.แพร่กันค่ะ!
เช่นเคยแอดมินจะพาไปพูดคุยและเรียนรู้การทำงานของหมอพื้นบ้านของ 3 ตำบล ที่ทำงานร่วมกัน ก็คือ ตำบลป่าแดง ช่อแฮ และสวนเขื่อน ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.แพร่
คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพจังหวัดแพร่ ฝั่งตะวันออก (ช้างผาด่าน)
โดยกรรมการฯ ชุดนี้ ขับเคลื่อนงานทั้ง 3 ตำบล อ.เมือง จ.แพร่
ผลักดันให้เกิดกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์หลายกิจกรรมค่ะ
แอดมินอยากเล่าถึงกิจกรรมนี้ให้ฟังค่ะ ….น่าสนใจมากและเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดเบาหวานและความดัน
โดยเน้น “อาหารเป็นยา”
ที่บอกว่า กินอาหารเป็นยา ทำได้โดย กินพืชผักพื้นบ้านในชุมชน และยาสมุนไพรลดน้ำตาลง่ายๆ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางที่ดี
ที่ รพ.สต.ป่าแดง มี อสม.จิตอาสาที่ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน 17 คน ซึ่ง อสม. ได้รับความรู้โรคเบาหวานจากเจ้าหน้าที่ศูนย์เบาหวาน รพ.แพร่
อสม.กลุ่มนี้สามารถเจาะปลายนิ้วคัดกรองกลุ่มประชาชนทั่วไป เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงได้ เพราะผ่านการอบรมจากรพ.แพร่มาแล้ว
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดเบาหวานและความดัน ได้ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ป่าแดง คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยเบาหวานความดัน กลุ่มเสี่ยง และ อสม.จิตอาสา
จัดกิจกรรมต่อเนื่อง 5 เดือน ที่กลุ่มเป้าหมาย 15 คน ได้มาพบกัน มีการจัดกิจกรรม ตั้งแต่มีบุคคลต้นแบบที่มีปัญหาสุขภาพมาเล่าเรื่องการปรับพฤติกรรม ปรับอาหารการกิน จนทำให้หายป่วย เอาความรู้เรื่องผักพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่นมาแลกเปลี่ยนกัน
จากการชวนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่าผู้เข้าร่วมอบรม มีการปลูกผักกินเอง เราสามารถปลูกผักในกระถางได้ และกินผักที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ กินผักตามฤดูกาล
ลดการซื้อแกงถุงหรืออาหารจากตลาด แต่เปลี่ยนเป็นทำอาหารกินเอง
มีการแนะนำคนรอบข้างในการกินผักพื้นบ้านรวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ผักกัน
ผู้ป่วยเปลี่ยนพฤติกรรมออกกำลังกายในตอนเช้าในกิจวัตรประจำวันมีพฤติกรรมจากขี่มอเตอร์ไซค์ไปตลาดตอนเช้ามาขี่จักรยานหรือเดินแทน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานอย่างมาก
ผู้ป่วยหลายคนที่สังเกตุตัวเอง พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
เช่น ผู้ป่วยลดการกินแป้งและน้ำตาล เน้นกินผักท้องถิ่นมากขึ้น มีเพื่อนๆ มากินผักด้วยกัน มีการพูดคุยเรื่องผักและชวนกันปลูกผัก …ผู้ป่วยต่างก็มีกำลังใจ
หรือ เวลาจะซื้อเครื่องดื่มต่างๆ จะดูฉลากข้างขวดมากขึ้นจากที่ไม่เคยดูเลย ….เมื่อก่อนแอดมินก็ไม่เคยสนใจข้อมูลด้านโภชนาการข้างขวดเลย…หลังจากอบรมพร้อมๆ กับผู้ป่วยแล้ว ..รู้สึกว่า เราต้อองอ่านฉลากข้างขวดให้ละเอียดมากขึ้น ก่อนจะซื้อคิดให้นานขึ้น
คณะกรรมการฯ เองก็ทำให้เป็นตัวอย่างและเผยแพร่แนวคิดนี้
เช่น ปลูกผักรอบบ้านจากไม่เคยปลูก หันมากินผักมากขึ้น จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็คือ กรรมการฯ บางคนที่น้ำหนักลดลง ทำให้ร่างกายคล่องตัวขึ้น เพียงแค่เปลี่ยนพฤติกรรม…ชีวิตเราก็เปลี่ยนแล้วค่ะ
แผนงานต่อไปของ คณะกรรมการฯ คิดว่าต้องเพาะขยายพันธุ์สมุนไพรหายาก สมุนไพรที่ใช้บ่อยให้มากขึ้นจนสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายได้ เช่น ตะไคร้หอมพัฒนาเป็นน้ำมันหอมระเหยทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุง
จะเห็นว่า กลไกการทำงานที่เข้มแข็งผ่านคณะกรรมการฯ ทำให้เกิดรูปธรรมการใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพในการนำมาใช้ดูแลสุขภาพในชุมชน รวมทั้งการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดการขยายเครือข่ายผ่านกิจกรรมที่ทำ
#มูลนิธิสุขภาพไทย #สร้างสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
#ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสมุนไพร
#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.