ศึกษาดูงานด้านอาสาสมัครที่ จ.นครศรีธรรมราช(1)


ศึกษาดูงาน
วันที่ 18 กันยายน 2563

คณะศึกษาดูงานอาสาสร้างสุขให้เด็กในสถานสงเคราะห์ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่ง(ศูนย์)เรียนรู้และส่งเสริมจิตอาสาเพื่อเด็กในสถานสงเคราะห์  ได้เดินทางไปที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาดูงานด้านอาสาสมัคร เด็ก เยาวชน และชุมชน  โดยลงศึกษาดูงานที่ 1)ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ 2) โรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ 3)สหทัยมูลนิธิ สาขาภาคใต้4)มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ภาคใต้  (มพก.) และ5)ชุมชนปากพูน

วันที่ 1 ศึกษาดูงานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ  เมื่อถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล้กบ้านเราะได้มีการคัดกรอง ตรวจเช็คอุณหภูมิร่างกายของผู้ศึกษาดูงานก่อนที่จะเข้าไปในศูนย์  ภายในศูนย์ครูสุลัดดา แก้วศรีมล ครู / รักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ และคณะครูให้การต้อนรับ และได้เล่าความเป็นมาให้แก่ผู้ศึกษาดูงานทราบว่า “ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ จัดตั้งเมื่อปี 2526 โดยคณะกรรมการหมู่บ้านได้มองเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กอายุระหว่าง 2-5 ปี เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย ทั้งร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา อีกทั้งเพื่อต้องการแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูบุตรหลานของผู้ปกครอง เพื่อให้มีเวลาไปประกอบอาชีพได้อย่างเต็มที่ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะยังได้นำแนวคิด “ วงจรบริหารงานคุณภาพ” มาใช้ในการดำเนินงาน และยังได้นำวิธีการคัดกรองเด็กป่วยด้วยเครื่องมือคัดกรอง เพื่อลดปัญหาการแพร่เชื้อ และนำปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้วิถีชีวิตชุมชน  เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการสอนเด็ก ๆ และนำวิธีการใช้กิจกรรมดนตรีเพื่อกระตุ้นทักษะสมองExecutive Functions (EF) ของเด็กปฐมวัยอีกด้วย  

และเดินทางต่อไปที่โรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ  ซึ่งมี นางบุบผา  จันทร์ศรีนวล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ , คณะครู ,นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ และ รศ. ดร.สายฝน เอกวรางกูร พร้อมคณะนักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยวัยลักษณ์ ให้การต้อนรับและให้ความรู้เกี่ยวกับความร่วมมือ กับโรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ ในการจัดตั้งห้อง Smile & Smart Center ภายในโรงเรียน โดยจุดเกิดของงานดูแลใจในระบบดูแลและเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนเกิดจากผลงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสถานการณ์เด็กและเยาวชนเชิงพื้นที่ ที่พบว่าเด็กและเยาวชนเผชิญความเสี่ยงจากพัฒนาการของตนเองและสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างภูมิคุ้มกันทางใจคือกุญแจสำคัญ โจทย์คือทำอย่างไรให้เด็กและเยาวชนรัก เข้าใจ มองเห็นคุณค่า ยอมรับตนเอง รู้จักการให้และแบ่งปันสู่คนรอบข้างโดยเฉพาะการแบ่งปันพลังบริสุทธ์สู่ผู้สูงอายุที่เผชิญภาวะซึมเศร้ามากขึ้น มีการนำผลการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน ฝึกให้นักศึกษาพยาบาลส่งต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้จากห้องเรียนสู่งานบริการวิชาการให้กับโรงเรียน สังคม และชุมชน จากผลการวิจัยพบเครื่องมือที่สามารถทำได้ง่ายต่อการนำไปใช้ดูแลใจตนเองและคนรอบข้าง คือ การใช้ภาษารักของ Gary Chapman มาใช้ 5 รูปแบบ  1) คำพูด บอกรัก ให้กำลังใจ ชื่นชม แสดงความห่วงใย ขอโทษ   2) สัมผัส จับมือ สลาม กอด สบสายตา 3) การบริการ ใส่ใจ ดูแล เช่น ช่วยพ่อแม่ล้างจาน กวาดบ้าน 4) ของขวัญ ของฝาก ไม่จำเป็นต้องรอเทศกาล หรือ ใช้ของแพง ดอกไม้ข้างบ้าน 5) เวลาคุณภาพ อยู่ร่วมกันอย่างเชื่อมโยง ซึ่งภาษารักจะใช้ควบคู่กับเทคนิคเชิงจิตวิทยา 3 ข้อ คือ 1) การเชื่อมโยงพลังบวกภายในตนเองและส่งต่อความรัก ความปรารถนาดี การยอมรับ แก่คนรอบข้าง ด้วยท่าทีจริงใจ เป็นมิตร การสบสายตา 2) การตั้งคำถามลงในใจประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ ความรู้สึก ความคิด ความหวัง3) การฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจ

           การทำงานของทีมตั้งอยู่บนความเชื่อมั่นว่า การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถสัมผัสกับความรัก มองเห็นคุณค่า ยอมรับเข้าใจตนเอง ร่วมกับตอกย้ำความรักตนเองด้วยการมอบพลังด้านบวกให้กับผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ จะเกิดผลเป็นพลังและเป็นเกราะคุ้มกันตนเอง เกิดการเจริญเติบโตงอกงามภายในตนเอง จนสามารถป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าที่นำไปสู่การทำร้ายตนเองได้ในที่สุด การกระบวนการที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ฐานรากความเข้มแข็งทางสังคมเติบโตไปพร้อมกันได้อย่างสวยงาม

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand