สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้มาเยือนเร็วกว่าทุกปี สร้างความเสียหายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน ซ้ำเติมเศรษฐกิจยุคข้าวยากหมากแพง ภาวะที่ชาวนาขายข้าวไม่ได้เงิน เผชิญทุกข์ซ้ำจากสถานการณ์ภัยแล้งยังลุกลามในหลายพื้นที่ สร้างความเดือดร้อนให้แก่กลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชาวนาบางส่วนที่ต้องหยุดทำนาหันมาทำอาชีพอื่น เนื่องจากประสบปัญหาขาดน้ำ หลังชลประทานประกาศหยุดจ่ายน้ำเข้าสู่ภาคการเกษตรในวันที่ 1 มีนาคมนี้
“เทียน คล้ายนุช” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.บึงบอน อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ยอมรับว่า ขณะนี้พื้นที่ อ.หนองเสือ ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่มาเร็วกว่าทุกปี ส่งผลให้เกษตรกรชาวนา ชาวสวนได้รับความเดือดร้อน ไม่มีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตร ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบึงบอนพัฒนาทั้งหมดมีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนปาล์ม พืชผักสวนครัว และนาข้าว ขณะนี้สวนปาล์มไม่มีน้ำรด น้ำในคลองแห้ง สวนผักที่มีทั้งพริกขี้หนู ถั่วฝักยาว และผักต่างๆ ที่ปลูกไว้ก่อนแล้วก็เริ่มเหี่ยวเฉา ส่วนที่กำลังจะเริ่มปลูกรอบใหม่ก็ต้องหยุดเอาไว้ก่อน ผู้ที่ทำนาเอาไว้แล้วก็ต้องปล่อยตามยถากรรม แม้ว่าสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานีจะออกมาประชาสัมพันธ์ให้หยุดทำนาปรังในช่วงนี้ เพราะน้ำมีไม่เพียงพอ แต่ชาวนาชาวสวนถ้าไม่ให้ทำนาทำสวนก็ไม่รู้จะไปทำมาหากินอะไร จำเป็นต้องเสี่ยงดวงกันเอาเอง เพราะต้องดำรงชีวิต
“ทางที่ดีภาครัฐ ที่นอกจากออกประกาศเตือนให้ชาวนาชาวสวนหยุดการทำนาแล้ว ควรจะออกมาสำรวจและหาแนวทางในการเยียวยา ชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปของชาวนาชาวสวน ไม่ใช่แค่ออกมาบอกให้หยุดทำการเกษตร แต่กลับไม่บริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร” เทียน กล่าว
ขณะที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นอำเภอหนึ่งที่เสี่ยงต่อการได้รับผล กระทบจากภัยแล้งเป็นประจำทุกปี ที่คลองเกตุ คลองกล่ำ ซึ่งเป็นโครงการบางระกำโมเดลของรัฐบาลที่ไหลผ่านบ้านตะแบกงาม หมู่ 9 ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ แห้งขอดจนแทบไม่มีน้ำแล้ว บางจุดก็สามารถเดินข้ามได้ ขณะที่คลองหนองคางแห้งลงจนพื้นดินแห้งแตกมาได้ราว 1 เดือน หลังจากสภาพอากาศเริ่มร้อนจัดและน้ำในแม่น้ำยมเริ่มแห้งลง ชาวบ้านที่อยู่ตอนล่างของแม่น้ำยมจึงร้องขอให้มีการปล่อยน้ำมาช่วยเหลือ ซึ่งทางชลประทานระบายน้ำจากคลองหนองคางไปช่วยเหลือ ทำให้น้ำในคลองแห้งลง ชาวบ้านที่ทำนาต้องไปดึงน้ำจากที่อื่นมาใช้ ในส่วนของน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำยมที่คลองวังแร่ ทางชาวบ้านที่มีบ้านอยู่ริมน้ำและทำการเกษตร ต่างเร่งชักน้ำมากักเก็บไว้
เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร จากสถานการณ์แล้งทำให้ชาวบ้านบางรายทำกรงนกขาย สร้างรายได้ช่วงหน้าแล้งนี้
ส่วน จ.พิจิตร ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน ที่แม่น้ำยม บริเวณหน้าเขื่อนยางจระเข้ผอม ต.รังนก อ.สามง่าม จ.พิจิตร ที่กักเก็บน้ำในแม่น้ำยม ปริมาณน้ำหน้าเขื่อนยางลดระดับลง ห่างจากสันเขื่อนยางกว่า 1 เมตร ไม่เพียงพอที่ล้นสันเขื่อนยางและไม่สามารถระบายช่วยทางตอนใต้ของเขื่อนยางได้ จนทำให้เกิดภัยแล้งกลางแม่น้ำยม มีเพียงน้ำที่ขังในจุดที่เป็นหลุมและแห้งขอด จนเห็นพื้นทรายของแม่น้ำยม
สาเหตุที่แม่น้ำยมบริเวณบ้านจระเข้ผอมแห้งขอด เนื่องมาจากการเก็บกักน้ำของเขื่อนยาง พร้อมทั้งบริเวณหน้าเขื่อนยางมีปริมาณน้ำที่น้อย จึงไม่สามารถระบาย
ลงทางตอนใต้ได้ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร
ชาวนา และชาวบ้านขาดน้ำนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร
ส่วนลุ่มน้ำปิงก็กำลังเผชิญกับปัญหาภัยแล้งไม่ต่างกัน “อดุลย์ ฉายอรุณ” ผอ.โครงการชลประทานเชียงใหม่ ยอมรับว่า การบริหารจัดสรรน้ำให้แก่ส่วนต่างๆ ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ คาดว่าจะเกิดวิกฤติด้านน้ำ และคุณภาพน้ำในแม่น้ำปิงในช่วงฤดูแล้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่ต้องบริโภคน้ำ โดยเฉพาะในบริเวณด้านท้ายเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ อ.เมือง อ.หางดง อ.สันป่าตอง อ.ดอยหล่อ จึงขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดเลี้ยงปลาในกระชังลำน้ำปิงตลอดช่วงฤดูแล้งด้วย
ขณะที่ “ทะเลสาบดอยเต่า” สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้มาเร็วมาก ชาวบ้านได้รับผลกระทบแล้วร้อยละ 65 โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวทะเลสาบดอยเต่า ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม “ทิพย์ไพวรรณ์สุนันตา” ผู้ประกอบการเรือนแพธารทิพย์ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ปริมาณน้ำที่ทะเลสาบดอยเต่าปีนี้แห้งเร็วกว่าทุกปีที่ผ่านมา เชื่อว่าสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้จะต้องรุนแรงกว่าทุกปี ผู้ประกอบการเรือนแพบริเวณทะเลสาบดอยเต่าต่างต้องลากจูงแพออกไปยังที่มีน้ำ เพื่อพยุงให้แพลอยอยูได้ ป้องกันความเสียหายจะเกิดขึ้นกับแพ เพราะหากให้แพเกยตื้นจะทำให้ไม้ไผ่แตกได้รับความเสียหายและต้องเสียค่าซ่อมเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้เรือลากจูงไปในที่ที่มีน้ำ
ทำให้มีต้นทุนค่าน้ำมันเรือเพื่อลากจูงแพออกไปต่อเที่ยวไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท เมื่อสถานการณ์ภัยแล้งเกิดขึ้นเร็วจึงผลกระทบไปถึงการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวที่เคยมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เมื่อน้ำแห้งนักท่องเที่ยวก็ไม่เดินทางเข้ามา ทำให้ผู้ประกอบการต้องขาดรายได้ตรงนี้ไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบไปยังกลุ่มชาวประมงที่หาปลามาให้เรือนแพก็ต้องขาดรายได้ไปด้วย ซึ่งความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจะกระทบไปทุกส่วนที่ทำธุรกิจเชื่อมโยงกัน ผู้ประกอบการเรือนแพเองต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่ได้ โดยการออกไปหาปลาเพื่อนำมาจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว และต้องรอจนกว่าจะถึงฤดูฝน น้ำจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นจึงจะสามารถประกอบธุรกิจกันได้อีกครั้ง
ด้าน ผศ.ดร.วสันต์ จอมภักดี ประธานคณะกรรมการประสานงานอนุรักษ์แม่ปิงและสิ่งแวดล้อม บอกถึงสาเหตุที่สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าทุกปีผ่านมา เนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศทั่วโลก จนไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ สิ่งที่จำเป็น คือ ต้องมีการเตรียมพร้อมตั้งรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นให้ดี เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรต่อไป อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
โดยเฉพาะแหล่งน้ำทางธรรมชาติไม่ได้รับการดูแล แหล่งต้นน้ำที่ถูกทำลายจากการตัดทำลายป่า ทำให้วงจรน้ำทางธรรมชาติถูกทำลายตามไปด้วย นับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภัยแล้ง สังเกตได้จากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาไม่ได้น้อยลง แต่ความสามารถในการกักเก็บน้ำของแหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่สามารถกักเก็บไว้ได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนขึ้นมา เพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ แต่การกักเก็บน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อน ไม่เหมือนการกักเก็บตามธรรมชาติ น้ำที่อยู่ในอ่างจะระเหยเร็วมาก ประกอบกับพฤติกรรมการใช้ในน้ำในระบบชลประทานของประชาชนแบบไม่ประหยัด ทำให้น้ำที่กักเก็บไว้ใช้อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการในช่วงฤดูแล้งได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงทำให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งได้
ที่มา : คมชัดลึก 17 ก.พ.57
สถานการณ์ภัยแล้งทั่วประเทศ
12 ก.พ.2557
- วิกฤติภัยแล้ง ซ้ำเติมชาวนา – คมชัดลึก
- เกษตรฯมีนโยบายห้ามทำนาปรังรอบ 2 – กรุงเทพธุรกิจ
- ภัยแล้งยาวนาน ชาวบ้านโป่งน้ำร้อนเดือดร้อนหนัก – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- ชาวสวนปาล์มท้อ ราคาปาล์มดีแต่ไม่มีขายถูกภัยแล้งคุกคาม – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- แล้งลามสุโขทัยนาพัง5หมื่นไร่-ไทยโพสต
11 ก.พ.2557
- ชลประทานเริ่มหยุดส่งน้ำ 2 มี.ค. สิงห์บุรีเตือนงดเพาะปลูก – ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
- ผู้ว่าฯบุรีรัมย์สั่งตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง – เนชั่น
- แล้งจัดน้ำแห้งคลองชาวกรุงเก่าออกจับปลาขายหารายได้เสริม – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- ทหารพัฒนาแจกน้ำช่วยเหลือชาวบ้านที่สตูล หลังประสบภัยแล้ง – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- กรมชลฯ มั่นใจปริมาณน้ำปีนี้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- ‘เชียงราย’ไม่พ้นภัยแล้ง ‘น้ำโขง’ส่อวิกฤติสันดอนโผล่ – ไทยรัฐ
- บุรีรัมย์เริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง ชลประทานจังหวัดหวั่นวิกฤติ – มติชน
- ภัยแล้งกระทบ “บัว” ไม่ออกดอก ทำให้บัวอ่างทองขาดตลาด – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- จ.บุรีรัมย์ ประกาศให้ อ.พุทไธสง เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- 7 อำเภอมหาสารคามนอกเขตชลประทานส่อเค้าแล้งหนัก – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- กรมชลฯ วอนเกษตรกรงดทำนาปรังรอบ 2 ชี้ปริมาณน้ำไม่พอ – ASTVผู้จัดการออนไลน
10 ก.พ.2557
- ผู้ว่าฯ อ่างทองเร่งรับมือภัยแล้ง – เนชั่น
- นอภ.ดอยเต่าเตรียมเสนอจ.ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ง – เนชั่น
- กระบี่ตั้งศูนย์ช่วยเหลือภัยแล้ง หลังส่อเค้ารุนแรง – เนชั่น
- กระบี่ตั้งศูนย์ช่วยเหลือภัยแล้ง หลังส่อเค้ารุนแรง – มติชน
- ผู้ว่าฯ แพร่ ขึ้น ฮ.สำรวจสถานการณ์ภัยแล้ง-หมอกควัน – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- ภัยแล้ง 8 อำเภอจันทบุรียังไม่คลี่คลาย – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- สตูลภัยแล้งเริ่มคุกคามเกษตรกรเดือดร้อนหนักขาดน้ำเลี้ยง เป็ด-ไก่ – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- “ปลาแดก” สู้ภัยแล้ง ชาวศรีสะเกษทำไว้กิน-ขายเลี้ยงครอบครัว – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- ชาวนาอ่างทองหวั่นภัยแล้งขยายวงกว้าง เร่งสูบน้ำในคลองที่เริ่มแห้ง – มติชน
- ปภ.มหาสารคามคาดภัยแล้งรุนแรงกว่าทุกปีเตรียมตั้งศูนย์เฉพาะกิจฯ – ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 ก.พ.2557
- ปภ.เผยมีพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 9 จังหวัด – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- กษ.ขอความร่วมมือชาวนาลุ่มน้ำเจ้าพระยางดทำนาปรังรอบ 2 – ASTVผู้จัดการออนไลน์
- ตรังประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ง เตือนเตรียมพร้อมรับมือ – มติชน
- น้ำโขงลดต่อเนื่องจนเริ่มวิกฤต คาดปีนี้แล้งหนัก – ASTVผู้จัดการออนไลน์