โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด หวังให้ผู้ป่วยไข้ ญาติ พี่น้อง คน ทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ และความพร้อมในการดูแลตัว ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของอาสาสมัคร กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และให้อาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดบริการสุขภาพให้กับผู้ป่วยที่มารับบริการ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด หวังให้ผู้ป่วยไข้ ญาติ พี่น้อง คน ทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ และความพร้อมในการดูแลตัว ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของอาสาสมัคร กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และให้อาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดบริการสุขภาพให้กับผู้ป่วยที่มารับบริการ
มาณี สื่อทรงธรรม ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล ด้านการพยาบาลหอผู้ป่วย ประธานศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ ได้เริ่มงานเพื่อนช่วยเพื่อน มิตรภาพบำบัดมาตั้งแต่ปี 2548 เล่าว่า สำหรับศูนย์สิ่งเสริมมิตรภาพบำบัดเป็นการ เปิดโอกาสให้ได้ออกแบบการดูแลสุขภาพร่วมกัน มีกิจกรรมในโรงพยาบาล เช่น ร้องเพลงบริเวณโถงอาคาร ช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ ขณะที่รอคิวเข้ารับการรักษา เนื่องจากรพ.จุฬาฯเป็นโรงเรียนแพทย์ก็จะมีนิสิตแพทย์ บุคลากรในโรงพยาบาลมาช่วยอาสา รวมถึงการให้บุคลากรที่อยู่ในวัยเกษียรมาช่วยเหลือโรงพยาบาลเป็นการทำ ประโยชน์ให้แก่สังคม
“ช่วงหลายปีมานี้ ตั้งแต่เริ่มเปิดศูนย์มิตรภาพบำบัดฯ บรรยากาศในโรงพยาบาลก็ดีขึ้น คนในโรงพยาบาลเปิดใจกัน ช่องว่างในการให้บริการที่มากก็ลดลง จากที่วุ่นเสียจนไม่มีโอกาสได้พูดคุยกัน ก็มีเหมือนมือที่คอยหยิบยื่นความช่วยเหลือ มีน้ำใจให้แก่กันและกัน เมื่อทุกคนได้รับความช่วยเหลือก็มีความรู้สึกที่ดี”
พี่มาณี เล่าอีกว่า ที่นี่จะมีกลุ่ม เพื่อนช่วยเพื่อนหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรัง ทั้งโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง สะเก็ดเงิน ธาลัสซีเมีย มะเร็ง ฯลฯ โดยผู้ป่วยจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วย วิธีการดูแลตัวเอง เป็นเพื่อนที่ช่วยให้ไม่จมอยู่ในความทุกข์ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานก็จะช่วยกันดูแลเท้า มีวิธีการบริหารเท้า หรือกลุ่มคนไข้มะเร็งลำไส้ ที่ทนทุกข์ทรมานที่กลิ่นรำคาญออกมา ก็มีวิธีการกำจัดกลิ่น คนไข้ด้วยกันจะรู้วิธีเพราะมีประสบการณ์ ที่เจ้าหน้าที่ก็ทำไม่ได้ตลอดเวลาแต่คนไข้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร แต่ในกลุ่มผู้ป่วยก็ต้องเรียนรู้กันพอสมควร ความสนิทสนมก็ต้องมีขอบเขต ไม่มีสิ่งที่แอบแฝงหรือหาผลประโยชน์
“คนไข้มีความทุกข์ แต่บางครั้งไม่ค่อยจะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ หากเป็นคนไข้ที่มีความทุกข์เหมือนกันก็จะเปิดใจกันเร็วกว่า นอกจากนี้ก็มีโครงการพระข้างเตียง ซึ่งทางโรงพยาบาลเป็นผู้นิมนต์พระมาให้ พี่คิดว่า ช่วงวาระสุดท้ายของผู้ป่วยร่างกายและจิตใจอ่อนแอหากยินดีฟังธรรมเพื่อตระ เตรียมใจเป็นเรื่องดี เมื่อพระมาก็ไม่ได้มาเทศน์แต่เป็นการมาพูดคุย ให้ผู้ป่วยได้ระบายสิ่งที่อัดอั้นออกมา โดยจะนิมนต์พระมาทุกวันอังคาร ใครอยากจะคุยกับพระก็มา”พี่มาณีเล่า
พี่มาณี เล่าอีกว่า ล่าสุดได้ทำ กิจกรรม โดยการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ซึ่งปีๆ หนึ่งมีพระสงฆ์ที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อพูดคุยกับพระสงฆ์ว่า หากป่วยจะทำอย่างไร พระท่านบอกว่าหายาฉันเอง แต่ไม่มาโรงพยาบาล เพราะแออัด แสดงให้เห็นว่าการเข้าถึงบริการสาธารณสุขยังน้อย ขณะที่รพ.สงฆ์เล็กลงไปทันทีเมื่อเทียบกับประชากรพระสงฆ์จำนวนมาก ดังนั้น จึงเริ่มมีโครงการตรวจสุขภาพพระ โดยเริ่มที่วัดบวรนิเวศ พบว่า มีพระป่วยจำนวนมาก ซึ่งกว่าที่จะพูดให้พระเข้าใจและยอมที่จะเข้าร่วมโครงการ พร้อมถวายความรู้ แต่การถวายความรู้นั้น ไม่นานก็ลืม จึงตั้งต้นที่จะหาวิธีให้เกิดความยั่งยืน จึงพยายามหาเครือข่ายทำงานวิจัยร่วมกันและถอดบทเรียนจากนั้นประสานกับ ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อนำไปเป็นบทเรียนเป็นความรู้ให้กับพระอย่างยั่งยืน
“พระก็เหมือนกับคนทั่วไปที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพ ไม่สนใจสุขภาพเพราะยังไม่ป่วย นอกจากนี้หากศิษย์วัดซึ่งเป็นผู้ประกอบอาหารก็ให้ความร่วมมือก็ส่งผลกระทบ กับสุขภาพของพระ เนื่องจากไม่สามารเลือกอาหารการกินได้ และเพื่อให้พระตระหนักถึงการรักษาสุขภาพ จึงทำสายประคด ที่มีขีด รอบเอว 90 ซ.ม. ซึ่งถ้าเกินถือว่าอ้วน รวมถึงการแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม” พี่ณียกตัวอย่าง
พี่มาณี บอกต่อว่า นอกจากจะ เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยแล้ว ยังจัดอบรมนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ในการเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในด้านจิตใจอีกด้วย โดยได้รับความสนใจจากโรงเรียน มีการส่งนักเรียนมาเป็นจิตอาสาโดยเฉพาะช่วงปิดเทอม เด็กจะได้ซึมซับจิตอาสา อีกกลุ่มคือ ประชาชนทั่วไป ถ้าสนใจมาสมัครจะมีการนัดมาอบรม รุ่นละ 40 คน แต่อาสาสมัครในขณะนี้มีไม่มาก เพราะคนไทยยังมองไม่เห็นพลังของจิตอาสา
พี่ณีทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ดี ปัจจุบันถือว่าเรื่องของจิตอาสามีมากขึ้น แต่ก็น่าเสียดาย ที่บางครั้งเรามีใจแต่กลับไม่มีเวลาเพราะทุกคนต่างก็มีภาระดังนั้น จิตอาสาอาจจะเริ่มง่ายๆ กับผู้คน สังคมรอบตัว เมื่อพบหน้าก็หยิบยื่นน้ำใจและความช่วยเหลือให้ เชื่อว่า สังคมจะน่าอยู่กว่านี้….
ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์