ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเชื่อมต่อระบบของประเทศ…ได้จริง? (จบ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การสนับสนุนและขับเคลื่อนให้มีการจัดการความรู้จากหมอพื้นบ้าน และผู้รู้ภูมิปัญญาในชุมชน หรือจากตำราหรือบันทึกในชุมชน
รวมถึงสำรวจ/อนุรักษ์/ปลูกสมุนไพร เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นวัตถุดิบอาหาร และยาสมุนไพรที่สำคัญในชุมชนนำมาสู่ประโยชน์ 3 ด้าน คือ
ด้านสร้างเสริมสุขภาพ ด้านแหล่งอาหาร สุขภาพและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ด้านรายได้หรือเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน และเชื่อมต่อกับระบบได้ 3 ระบบ
ระบบแรก ศูนย์สุขภาพแนวใหม่ ซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนนโยบาย ข้อบัญญัติ งบประมาณ ตลอดจนจัดสถานที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน

ในหลายๆ พื้นที่ ได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลเป็นอย่างดี
ระบบถัดมาคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ของทุกคน
เป็นการบูรณาการงานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับงานประจำ จัดการความรู้การแพทย์พื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นๆ ร่วมจัดบริการกับฝ่ายสาธารณสุข
ในทุกพื้นที่ ทาง รพ.สต.ปรับตัวและทำงานร่วมกับหมอพื้นบ้าน และผสานองค์ความรู้เข้าด้วยกัน
และระบบสุดท้าย วัด – บ้านหมอพื้นบ้าน
ฟื้นฟูบทบาทวัดและบ้านหมอพื้นบ้านที่เป็นที่พึ่ง ในการดูแลสุขภาพกายใจตามวิถี วัฒนธรรม ให้ยังคงอยู่และมีชีวิตชีวาทันโลกที่เปลี่ยนไปด้วย ยังมีการปลูกป่าสมุนไพรที่วัดและบ้านหมอ

“ระบบสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ” เกิดจากการมีส่วนร่วมทุกฝ่ายคำนึงถึงสุขภาวะของคนทั้งชุมชน ทุกมิติทั้งร่างกายและจิตใจ สิ่งแวดล้อม สังคม ให้บทบาทกับองค์กรหน่วยงานในพื้นที่ได้ทำหน้าที่อย่างสร้างสรรค์ สนับสนุนความรู้ งบประมาณ ทรัพยากรต่างๆ
เกิดประโยชน์นำไปสู่คนในชุมชน ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ อาหารพื้นบ้าน พันธุ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และเกิดเป็นรายได้ ในช่วงแรกอาจจะเป็นรายได้เสริมแล้วค่อยยกระดับไปสู่รายได้หลัก ซึ่งก็คือเศรษฐกิจฐานราก
คำถามที่มักจะถามว่า…เราจะทำได้จริงๆ เหรอ?
และนี่คือคำตอบค่ะ มีของจริงแล้ว มากกว่า 5 ตำบล

#มูลนิธิสุขภาพไทย #สร้างสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น #ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand