การกินอาหารของคนอีสานแฝงไปด้วยภูมิปัญญาที่ลึกซื้ง เมื่อได้วิเคราะห์แล้วก็พบว่า
อาหารของคนอีสานหลายอย่างช่วยในการรักษาสุขภาพ หรือเรียกว่าอาหารสุขภาพก็ได้
แต่ๆๆๆ….หลายคนมีข้อโต้แย้งและข้องใจว่า เห็นคนอีสานกินของดิบๆ อาหารไม่ค่อยสุก
แล้วจะบอกว่า อาหารอีสานเป็นอาหารสุขภาพได้อย่างไร
ไปค่ะ…แอดมินจะพาไปเจาะลึกภูมิปัญญาอาหารของคนอีสาน
การกินอาหารเพื่อเป็นยา เพื่อให้ร่างกายปกป้องต่อสิ่งที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติหรือแก้ไขความผิดปกติของร่างกาย
เช่นคนอีสานจะกิน “ของขม” เป็นอาหารทุกมื้อ
ปัจจุบันพบว่า “สารที่ให้รสขม” มีส่วนช่วยในการ “บำรุงตับ”
คนอีสานนิยมกินของสดไม่ได้ปรุงให้สุก ทำให้ตับต้องทำงานหนัก การกินอาหารรสขมมีส่วนช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง
ผักรสขมมีอะไรบ้าง พอจะนึกออกมั้ยคะ … มะระ ฝักเพกาหรือฝักลิ้นฟ้ามีมากในช่วงฤดูฝนต่อหนาว สะเดามีมากในช่วงฤดูหนาว
ผักพื้นบ้านที่เราไม่คุ้นเคย เช่น ผักขี้ขวงมีมากในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ผักสาบมีมากในช่วงฤดูร้อนต่อฝน ผักไส่มีมากในช่วงฤดูฝน
เห็นมั้ยคะว่า คนอีสานมีผักรสขมกินตลอดปี
ในฤดูฝนคนอีสานไม่นิยมกินเนื้อสัตว์ มีเหตุผลคือ มีพยาธิมาก แต่จะกินเห็ดต่างๆแทนเนื้อสัตว์
ในช่วงฤดูฝนจะมีเห็ดต่างๆหลากหลายชนิดให้กิน
มีความเชื่อว่ากินแกงเห็ดหลายชนิดรวมกันเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีอายุยืน และเห็ดมีโปรตีนเท่าๆกับเนื้อสัตว์
จากการศึกษาของ Smith at al. (2006) พบว่าเห็ดทุกชนิดมีองค์ประกอบของ โพลิแซคคาไรด์ ไตรเตอร์ปินอยด์และกลูแคน สารเหล่านี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและระงับการเจริญและการแพร่กระจายของเนื้องอกชนิดต่างๆ
การกินอาหารที่ปรุงจากพืชที่มีรสเปรี้ยว จะต้องมีพืชที่มีรสฝาดเป็นเครื่องปรุงร่วมเสมอ ไม่เช่นนั้น จะทำให้เกิดภาวะท้องเสียหรือท้องผูกได้
เช่น ในฤดูร้อนอาหารที่นิยมกินอย่างหนึ่งก็คือ การขูดเอาเปลือกด้านในของต้นอะลาง ที่มีรสฝาดมาตำกับมดแดง กินแล้วทำให้ร่างกายสดชื่นต่อสู้กับอากาศร้อนได้ดี
เปลือกอะลางมีรสฝาดทำให้ท้องผูก แต่มดแดงมีรสเปรี้ยวจะทำให้ถ่ายท้อง เมื่อนำมาผสมกันในสัดส่วนที่พอเหมาะทำให้ได้อาหารที่เป็นยาได้
เห็นมั้ยคะว่า …คนอีสานมีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารที่น่าทึ่งมาก
#มูลนิธิสุขภาพไทย #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน #อาหารรสขม #อาหารบำบัด
#ภูมิปัญญาท้องถิ่น #ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับอาหาร
#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.