ภูมิปัญญาเกษตรภาคอีสานไม่ได้มีแต่การทำนายฝนจากใบหญ้าหวาย ยังมีการทำนายฝนจาก สัตว์ สิ่งของและธรรมชาติอื่นๆ อีกค่ะ
แอดมินเคยสงสัยว่า …ก่อนจะมีกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์บอกว่าฝนจะมาเมื่อไหร่ ตกมากแค่ไหน ชาวนาชาวไร่จะรู้ได้อย่างไรเรื่องฝนฟ้าจะมาเมื่อไหร่?
แอดมินจะชวนไปเที่ยวหมู่บ้านภาคอีสาน จินตนาการไปพร้อมๆ กัน ไปร่วมพยากรณ์ฝนกับผู้เฒ่าในหมู่บ้าน
รู้จัก “ว่าวสนู” มั้ยคะ?
“สะนูว่าว” หรือ “ทะนูว่าว” ออกเสียงตามแบบชาวอีสาน หรือ “ธนูว่าว” ทางภาคกลางเรียก “ว่าวหง่าว” หรือ “ดุ๊ยดุ่ย”
ว่าวสะนู เป็นว่าวที่มีรูปร่างโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน เป็นว่าวที่มีเสียง
การทำนายปริมาณน้ำฝนจากการเล่นว่าวสนู ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนอีสาน
เราจะขึ้นว่าวในตอนกลางคืน ตัวว่าวสนูมีลิ้นติดอยู่ที่บ่าของว่าวทำให้เกิดเสียงเวลาชัก ถ้าลมหมดเมื่อว่าวตกลงสู่พื้นดินเวลาใดสามารถทำนายปริมาณฝนได้ เช่น
ถ้าว่าวตกก่อน 3 ทุ่ม แสดงว่าปีนั้นจะแล้งจัด จะต้องเตรียม “ข้าวดอ” ก็คือ ข้าวอายุสั้น
เอาไว้ปลูก
ถ้าว่าวตกก่อนเที่ยงคืน แสดงว่าจะมีฝนปานกลาง แต่ถ้าว่าวตกตอนรุ่งเช้าหรือไม่ตกเลย แสดงว่า ปีนั้นจะมีน้ำมาก ต้องเตรียมพันธุ์ข้าวที่ทนน้ำท่วม เช่น ข้าวขี้ตมขาวใหญ่ ข้าวสายบัว ภูมิปัญญาเรื่องว่าวสนู นี้ คนอีสานยังใช้กันอยู่นะคะ เพียงแต่ไม่ได้จดบันทึกไว้
ปริมาณน้ำฝนมากหรือน้อยก็จะสัมพันธ์กับพันธุ์ข้าวที่จะปลูก การมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์ก็ดีแบบนี้เอง
…เลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำฝน
ลองคิดเล่นๆ นะคะว่า ..ถ้าเราปลูกข้าวสายพันธุ์เดียวมาตลอด…จะเกิดอะไรขึ้น
แน่นอนเลยว่า พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ไม่เอามาปลูก จะค่อยๆ สูญพันธุ์ไป ข้าวสายพันธุ์เดียวซึ่งอาจจะไม่ใช่ข้าวท้องถิ่นไม่ค่อยทนต่อสภาพพื้นที่ ผลผลิตที่ได้อาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
โพสต์หน้า…จะพาไปดูตัวตะกวดอย่างใกล้ชิด และเราพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนจากตะกวดได้ยังไง
อย่างเพิ่งร้องกรี๊ดๆ หรือ อุทาน คุณพระช่วยนะคะ …เราทำนายฝนจากหางตะกวดจริงๆ ค่ะ
#มูลนิธิสุขภาพไทย #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน #สมุนไพรไทย #ทำนายฝน
#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.