“ภูฏาน”หวังขึ้นชั้นเป็นประเทศ”เกษตรอินทรีย์ 100%”

ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นที่รู้จักกันดีหลังรัฐบาลประกาศนโยบาย”ความสุขมวลรวมประชาชาติ” แต่ไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ ภูฏานยังตั้งเป้าที่จะเป็นประเทศแรกในโลกที่จะเปลี่ยนวิถีการเกษตรแบบ”ปลูกเองกินเอง” ให้เป็นการเกษตรอินทรีย์แบบ 100%

แม้จะเป็นเพียงประเทศขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ระหว่างสองมหาอำนาจอย่างจีนและอินเดียแต่ก็มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับน่าพอใจ แต่ถึงกระนั้น นโยบายการปกป้องสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีก็ยังเป็นสิ่งที่รัฐบาลที่นี่เน้นย้ำอยู่เสมอ

โมเดลการพัฒนาประเทศโดยเน้น”ความสุขมวลรวมภายในประเทศ”แทนที่จะเป็น”ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ”เช่นที่ประเทศอื่นๆเน้นกัน กลายเป็นที่สนใจและกลายเป็นประเด็นหารือในที่ประชุมสหประชาชาติ รวมถึงได้รับการสนุนทั้งจากอังกฤษ ฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ

ภูฏานไม่มีโทรทัศน์กระทั่งปี 1999 และปฏิเสธการท่องเที่ยวแบบไร้การจำกัด เพื่อปกป้องวัฒนธรรมของตนให้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมต่างชาติน้อยที่สุด เมื่อเร็วๆนี้ ทางการให้จัดให้มีวันคนเดินถนนในทุกวันอังคารของทุกสัปดาห์ โดยไม่อนุญาตให้รถแล่นเข้าพื้นที่ใจกลางเมืองได้

ความตั้งใจแน่วแน่ที่ต้องการเดินในเส้นทางที่แตกต่างสามารถเห็นได้จากนโยบายใหม่ที่ยุติการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรลงให้ได้ภายใน 10 ปี ทำให้พืชผลการเกษตรที่นิยมปลูกอาทิ ข้าวสาลี มันฝรั่งและอื่นๆ กลายเป็นผลผลิตจากกระบวนการอินทรีย์ 100%

นาย Pema Gyamtsho รัฐมนตรีเกษตรกล่าวว่า ภูฏานตัดสินใจที่จะนำประเทศไปสู่”เศรษฐกิจสีเขียว” แม้อยู่ท่ามกลางแรงกดดันจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เพราะหากเน้นการเกษตรแบบเข้มข้น อาจจำเป็นต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเชื่อในศาสนาพุทธ ซึ่งกล่าวว่ามนุษย์ควรใช้ชีวิตสอดคล้องกับธรรมชาติ

ภูฏานมีประชากรเพียง 7 แสนคน กว่า 2 ใน 3 ประกอบอาชีพทางการเกษตรในพื้นที่ราบทางตอนใต้ของประเทศที่ติดกับอินเดีย และบริเวณหุบเขาหลายแห่งของเทือกเขาหิมาลัย

นาย Gyamtsho กล่าวว่า ไม่ถึงร้อยละ 3 ของพื้นที่ราบถูกใช้เพื่อการเพาะปลูก และเกษตรกรส่วนใหญ่ก็เริ่มทำการเกษตรแบบอินทรีย์แล้ว โดยใช้มูลสัตว์หรือซากพืชเพื่อเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติ และมีเพียงเกษตรกรที่อาศัยในพื้นที่ที่ถนนหนทางเข้าถึงเท่านั้น ที่ยังคงใช้สารเคมีอยู่บ้าง แต่ก็เพื่อกำจัดวัชพืชที่ไม่สามารถถอนด้วยมือได้ทั้งหมด และก็ยังถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานสากลอยู่มาก

เขากล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป มิใช่ประสบความสำเร็จในช่วงข้ามคืน โดยเลือกทำในพืชที่เหมาะแก่การทำเกษตรอินทรีย์เป็นลำดับแรก ก่อนที่จะค่อยๆนำไปใช้ในพืชชนิดอื่นๆตามลำดับ

คู่แข่งเพียงประเทศเดียวของภูฏานในการทำเกษตรอินทรีย์แบบ 100% ก็คือเกาะนุยอี กลางมหาสมุทรแปซฟิก ซึ่งมีประชากรเพียง 1,300 คน และตั้งเป้าให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2015-2020

นาเดีย เซียแลบบา ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ประจำองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอ กล่าวว่า ตลาดสำหรับผลผลิตจากการเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีราคาที่สูงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับประเทศขนาดเล็ก ซึ่งไม่เน้นด้านปริมาณ แต่เน้นคุณภาพ

ตลาดผลผลิตจากการเกษตรอินทรีย์โลก มีมูลค่าต่อปีสูงถึง 57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการเกษตรอินทรีย์และสมาพันธ์เพื่อการเคลื่อนไหวเกษตรอินทรีย์สากล

ภูฏานส่งออกเห็ดหายากไปยังญี่ปุ่น และพืชผักไปยังโรงแรมต่างๆในประเทศไทย รวมถึงแอปเปิลราคาสูงไปยังอินเดีย ขณะที่ส่งออกข้าวแดงไปยังสหรัฐฯ

จูร์มี ดอร์จิ หนึ่งใน 130 สมาชิกสมาคมเกษตรกรดากา ชิงเดรย์ ชองปา ทางตอนใต้ของภูฏาน เปิดเผยว่า สมาชิกของกลุ่มรู้สึกพอใจต่อนโยบายนี้ของทางการ โดยเมื่อกว่า 10 ปีก่อน ผู้คนเริ่มตระหนักว่าการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกไม่ส่งผลดีอีกต่อไป และเขาเองก็ไม่ได้เชื่อว่าทุกคนจะหยุดการใช้สารเคมีได้ แต่ราว 90% น่าจะเป็นไปได้

ที่มา : มติชนออนไลน์

บทความที่เกี่ยวข้อง

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand