‘ฟองน้ำห้ามเลือด’ คว้าสุดยอดนวัตกรรมจากข้าว

ฟองน้ำห้ามเลือดใช้ในห้องผ่าตัดผลิตจากแป้งข้าวเจ้า คว้าชนะเลิศอันดับหนึ่งรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตการเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วน “หน้ากากอนามัยฆ่าเชื้อโรค” และ “วัสดุคอมโพสิทจากเศษยางรถ” รับโล่สุดยอดนวัตกรรมแห่งปี

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า มูลนิธิข้าวไทยฯร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. จัดการประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย ประจำปี 2557 เพื่อประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลความสำเร็จให้แก่ผู้พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวไทย หวังส่งเสริมและพัฒนาข้าวไทยที่มีคุณภาพและครองความเป็นหนึ่งในตลาดโลก

ปีนี้รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ “ฟองข้าวสุรดา” ฟองน้ำห้ามเลือดทางศัลยศาสตร์จากแป้งข้าวเจ้า โดย บริษัท บุณยนิตย์วัสดุแพทย์ จำกัด ซึ่งเป็นนวัตกรรมระดับโลกที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ใช้กับแผลผ่าตัดที่บริเวณอวัยวะอ่อนนุ่ม เช่น ตับ ปอด สมอง ลำไส้ มดลูก ทวารหนัก โดยจะได้รับรางวัลโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท

นอกจากนี้ สนช.ยังประกาศผลรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติและรางวัลการออกแบบเชิงนวัตกรรม ประจำปี 2557 เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตื่นตัวในการคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ผลงานที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยผลักดันประเทศชาติให้ก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ แบ่งเป็น ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ มีผลงานเข้าประกวดรวม 130 ผลงาน โดย GermGuard ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เคลือบด้วยสารสกัดจากเปลือกมังคุด โดยบริษัท อินโนเวทีฟ ฟิลเทรชั่น เทคโนโลยี (ไอเอฟที) จำกัด ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านสังคม

ผู้ประกอบการได้ใช้ประโยชน์สารสกัดจากเปลือกมังคุดควบคู่กับนาโนเทคโนโลยี ก่อนนำมาเคลือบบนหน้ากากอนามัยและแผ่นกรองอากาศ ทำให้มีความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรค เชื้อไวรัสและเชื้อราบางชนิด คงฤทธิ์ได้ถึง 3 ปี ทางบริษัทยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นแผ่นปิดแผลที่ราคาถูกแต่ประสิทธิภาพสูง

จึงเป็นการส่งเสริมการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของเปลือกมังคุดที่เหลือทิ้งจากภาคการเกษตร การพัฒนาเป็นแผ่นปิดแผลสำหรับผู้ป่วยแผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวก เบาหวาน แผลติดเชื้อ วัสดุชนิดนี้มีนอกจากมีสมบัติการฆ่าเชื้อโรค ยังสามารถลดอาการบาดเจ็บ ลดอาการติดเชื้อ มีฤทธิ์สมานแผลและมีราคาถูก ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

สำหรับรางวัลชนะเลิศด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ Redika วัสดุคอมโพสิทจากยางรถยนต์รีเคลม หรือเศษยางใช้แล้ว โดยนำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทำให้ได้วัสดุคอมโพสิทที่มีความแข็งแรง ราคาถูกและสามารถปรับสมบัติได้หลากหลายตามที่ลูกค้าต้องการ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้ง ได้แก่ ยางรถยนต์ใช้แล้วและพลาสติกรีไซเคิล ก่อให้เกิดการลงทุนด้านธุรกิจการเพิ่มมูลค่ายางรถยนต์เก่า ส่งผลให้เกิดการบริหารจัดการยางรถยนต์เก่าอย่างเป็นระบบ ไม่เหลือทิ้งเป็นขยะสร้างมลพิษ โดยมูลค่าทางการตลาดเป้าหมายสำหรับการนำไปผลิตเป็นชิ้นส่วนอุตสาหกรรม ยานยนต์ และก่อสร้าง อยู่ที่ส่วนแบ่งตลาด 0.05% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 27.4 ล้านบาท

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 3 ต.ค.2557

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชูข้าวพื้นบ้านสร้างความมั่นคงทางอาหาร

admin 5 เมษายน 2019

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ยโสธร ร่วมกับมูลนิธิเกษตรก […]

10 ข่าวมลพิษประจำปี2556

admin 4 เมษายน 2019

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีก […]

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand