เรามาต่อกันเรื่องพิธีนอนกระด้งของเด็กแรกเกิดกันค่ะ…
เมื่อผิวหนังของเด็กที่ติดมาจากท้องแม่ลอกหลุดหมดแล้วจึงเลิกบ่มผิว
การ “บ่มผิว” เพื่อให้ผิวสวย ไม่เป็นโรคผิวหนัง
เด็กที่ห่อเรียบร้อยแล้วให้นำเด็กไปวางบนกระด้งที่มีเบาะรองแล้วใช้ผ้าขาวปูทับเบาะอีกชั้นหนึ่ง
เราจะใช้ “หลังกระด้ง” ที่มีลักษณะนูนและนุ่มยืดหยุ่นได้ดี จากนั้นหมอตำแยจะยกกระด้งขึ้นพอเป็นพิธีแล้ววางกระแทกลงเบาๆให้เด็กตกใจแล้วร้องไห้ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณที่ทำเพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับการอุ้มของพ่อแม่เด็กนั่นเอง
เอาผ้าโปร่งมาปิดป้องกันแมลง ยุงและสัตว์อื่นๆ หรือ นำแหที่ใช้ในการหาปลามาโยงคลุมกระด้งที่เด็กนอน
มีความเชื่อว่า ร่างแหจะป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้เข้ามาทำร้ายเด็กเกิดใหม่ได้
แต่ในความเป็นจริง…ต้องการให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้สายตามองดูสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ใกล้ๆ ตัว
เป็นการฝึกให้เด็กสนใจในสิ่งที่มองเห็นรอบตัวและฝึกการใช้สายตานั่นเอง
น้ำที่ใช้อาบทั้งแม่และเด็กจะไม่ปล่อยทิ้งรวมกับน้ำที่ใช้ในครัวเรือน แต่จะขุดหลุมไว้ใต้ถุนบ้านหรือขุดหลุมไว้ข้างบ้าน เพื่อให้น้ำไหลลงไป
เมื่อขุดหลุมเสร็จแล้วนำขี้เถ้าโรยไว้ก้นหลุมและนำกิ่งไม้ที่มีหนามแหลมมาปิดปากหลุมด้วย
เชื่อว่าไล่ผีเป้าผีพายและป้องกันกลิ่นเหม็น รวมไปถึงป้องกันสัตว์ต่างๆ จะมาคุ้ยเขี่ย
หลังจากนั้นนำเด็กไปประกอบพิธีกรรมนอนกระด้ง
หากเป็นเด็กผู้หญิงจะเอาเข็ม ด้าย หรืออุปกรณ์เย็บปักถักร้อยวางลงในกระด้งก่อน แล้วค่อยเอาเบาะปูทับ เชื่อว่าจะทำให้เป็นคนเรียบร้อย เป็นแม่บ้านแม่เรือน
หากเป็นเด็กชาย จะเอาสมุด ดินสอ วางลงทำเช่นเดียวกัน จะทำให้เป็นคนรักเรียนเขียนอ่าน โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน
หมอตำแยจะทำการ “ฮอนกระด้ง” หรือร่อนกระด้ง
นำกระด้งเด็กไปที่ประตูเรือน ยกกระด้งขึ้นมาแล้วร่อนหรือแกว่งไปมา พร้อมกับพูดว่า
“กูจิผอกผีพาย ผายผีเป้า ผีนกเค้ามันฮ้องกุกกู…กุกกู คั่นแม่นลูกสูให้มาเอา มื้อนี้วันนี้ กายมื้อนี้ วันหน้าแม่นลูกกู…จ๊ะ..จ๊ะ..จ๊ะ”
พูดแบบนี้ 3 ครั้ง
คำว่า “จ๊ะ..จ๊ะ..จ๊ะ ” นั้นเป็นการปลุกเด็กให้ร้อง
ถ้าเด็กร้องไห้แสดงว่าเด็กมีสมองปกติ สมองดี เป็นคนแข็งแรงสมบูรณ์ดี
ถ้าเด็กไม่ร้องไห้ เด็กจะเป็นคนที่มีพัฒนาการช้า พูดช้า เดินช้ากว่าปกติ และจะเป็นเด็กที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อย
พอทำพิธีแล้วนำกระด้งเด็กไปวางข้างๆ แม่ของเด็ก แล้วเสกคาถาเอาด้ายสายสิญจน์วงรอบผูกข้อต่อแขนให้ทั้งแม่และเด็ก
หลังจากการร่อนกระด้งแล้วพบว่า เด็กไม่ร้องไห้…ก็ไม่ได้หมายความว่า เด็กจะไม่ปกติ เพียงแค่มีพัฒนาการช้า ครอบครัวทั้งพ่อและแม่ก็ต้องจัดหาอาหารบำรุงร่างกายให้กับเด็ก ไม่อยากให้พ่อ-แม่เสียขวัญเสียกำลังใจ
หากเด็กๆ ไม่ค่อยแข็งแรงก็ควรออกกำลังกาย ให้เด็กๆ ใช้ชีวิตในสังคม มีการปรับตัว… เด็กคนนั้นก็จะค่อยๆเป็นเด็กที่ปกติได้
#มูลนิธิสุขภาพไทย #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน #คนท้อง #สมุนไพรไทย #อยู่ไฟ #หมอตำแย
#หมอพื้นบ้าน #ภูมิปัญญา #สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.