“ปักลายถุงผ้า” …เยียวยาใจเด็กป่วยเรื้อรัง

ไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นผู้ชายหน้าดุตัวใหญ่ นั่งหลังขดหลังแข็งแต่งแต้มถุงผ้าด้วยการ “เย็บปักถักร้อย” และที่น่าทึ่งไปกว่านั้น ไม่ใช่แค่ผู้ชายเพียงคนหรือสองคน แต่หากเป็นชายแท้และเทียมเกือบครึ่งร้อยคน ที่สละเวลาในวันว่างเดินทางมากับเพื่อน หรือคู่รัก บ้างก็มากับคนในครอบครัว จนกลายเป็นกว่าร้อยคนนั่งเต็มลานกิจกรรม แล้วช่วยกันสร้างสรรค์งานศิลป์ที่มีคุณค่าทางใจ แถมยังมีประโยชน์ใช้สอยได้จริง ในกิจกรรมแต่งแต้มถุงผ้า เติมใจให้น้องก่อนวาระสุดท้ายของชีวิต ภายใต้ “โครงการฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา” และ “สายด่วน 0-2882-4952 ให้คำปรึกษาทางใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย” ที่เครือข่ายพุทธิกาจัดทำขึ้นเดือนละครั้ง โดยครั้งนี้พากันไปที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ หรือสวนโมกข์ กรุงเทพฯ
ทำไมต้องเป็นถุงผ้า! แล้วการแต่งแต้มถุงผ้าจะให้น้องๆ มีความสุขก่อนวาระสุดท้ายของชีวิตมาถึงได้อย่างไร?

คำถามนี้ นก-นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ ผู้ประสานงานโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ ในเครือข่ายพุทธิกา ขันอาสาไขความกระจ่างให้รู้กัน โดยเหตุที่ต้องชวนจิตอาสามาร่วมด้วยช่วยกันปักลายให้ถุงผ้า ด้วยเศษผ้าเศษไหม ไม่เน้นลูกปัดและกระดุม เพื่อนำไปมอบให้เด็กป่วยเรื้อรังในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือ รพ.เด็ก และ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น และ รพ.อื่นๆ เบื้องต้นจำนวน 100 ถุงนั้น เพราะน้องๆ ส่วนมากเป็นเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 4 ขวบไปจนถึง 13 ขวบ เมื่อต้องรักษาตัวเป็นระยะเวลานาน หรือต้องเข้าออก รพ.บ่อยๆ สัมภาระเขาจะเยอะ ทั้งยา อุปกรณ์การแพทย์ ข้าวของ จึงมีความคิดดีๆ อยากให้รวมของทั้งหมดไว้ในที่เดียวจะได้ไม่หล่นหาย และยังช่วยให้เด็กๆ สดชื่นกับลวดลาย ไม่หดหู่เวลาต้องไปพบแพทย์

“นอกจากถุงผ้าแล้ว เรายังนำเอาโปสต์การ์ดให้กำลังใจที่ได้จากการจัดทำในกิจกรรมครั้งที่แล้ว มาใส่ไว้ในถุงผ้าเพื่อมอบให้น้องๆ ผู้ป่วยด้วย เบื้องต้นจะนำไปมอบให้กับ รพ.เด็ก 30 ถุง และนอกนั้นจะกระจายไปยัง รพ.อื่นๆ ที่มีความต้องการ เราคิดว่าน้ำใจจากผู้คนในสังคมจะส่งต่อไปยังน้องๆ ผู้ป่วยเรื้อรังด้วยโรคมะเร็ง โรคไต โรคหัวใจ และมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างแน่นอน” ผู้ประสานงานโครงการเผชิญความตายอย่างสงบกล่าว

นงลักษณ์ยังบอกด้วยว่า กิจกรรมที่เครือข่ายพุทธิกาจัดทำขึ้นในครั้งนี้ ยังช่วยเชื่อมโยงให้คนทั่วไปเข้าถึงการเผชิญความตายอย่างสงบ ตาม ม.12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เนื่องจากได้สอดแทรกเนื้อหาสาระเข้าไปทางอ้อม ให้เขาได้รู้สึกว่าความตายไม่ใช่เรื่องไกลตัว เมื่อวันนั้นมาถึงจะได้มีวิธีรับมือที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามจากการสังเกตคนเมืองยังโหยหากิจกรรมจิตอาสาหรือการทำความดีอยู่มาก คนยังอยากช่วยเหลือกัน แม้แต่ผู้ชายแท้ๆ ยังมานั่งเย็บปักถักร้อยได้ เท่ากับว่าสังคมยังมีมิติดีๆ เช่นนี้อยู่ จึงอยากให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมด้านจิตวิญญาณรองรับให้มากขึ้น

จากคำถามมาถึงเสียงตอบรับ กลุ่มเพื่อนวัยทำงาน 5 เกลออย่างสองสาว ตองและดาว และอีก 3 หนุ่ม ชาร์ป เดี่ยว และโอ๊ต โดยทุกคนยกเว้นชาร์ป ออกตัวว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้มาร่วมในกิจกรรมจิตอาสา และยังเป็นครั้งแรกที่มานั่งเย็บปักถักร้อยนอกจากวิชาเรียนในสมัยเด็ก ส่วนหนุ่มชาร์ปเผยว่า ตนเคยเป็นจิตอาสาช่วงน้ำท่วมปลายปี 2554 มาแล้ว

“เพื่อนในกลุ่มเป็นสมาชิกเครือข่ายพุทธิกาอยู่ พอทราบข่าวเราก็ชวนกันมาค่ะ วันอาทิตย์ว่างๆ ไม่รู้จะทำอะไร เลยมาร่วมด้วยช่วยทำบุญดีกว่า แม้จะไม่ค่อยเก่งด้านเย็บปัก แต่ก็จะพยายามทำให้สุดฝีมือเพื่อน้องๆ ผู้ป่วยเรื้อรังค่ะ” ดาวกล่าว

ขณะที่เดี่ยวบอกว่า ถามว่าเขินมั้ย ก็มีบ้างครับ แต่เรามีใจที่อยากทำดีเพื่อสังคม เลยไม่คิดอะไรมาก แถมยังมองว่าจิตอาสาเป็นเทรนด์ที่ดี ช่วยยกระดับสังคมให้ดีขึ้นได้ และการได้มาเรียนรู้เรื่องการเผชิญความตายอย่างสงบ ทั้งจากข้อมูลของทางเครือข่ายพุทธิกา และจากสภาพความเป็นไปของน้องๆ ที่ป่วย ก็ทำให้เราคิดได้ว่า นับต่อจากนี้เราต้องใช้ชีวิตอย่างมีสติมากขึ้น

ผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคมกับเครือข่ายพุทธิกาในเดือนถัดๆ ไปโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คลิกไปได้ที่เว็บไซต์ www.budnet.org หรือใครที่ต้องการคำปรึกษาทางใจแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ป่วยเอง หรือญาติพี่น้อง ยกหูโทร.ไปได้ที่ 0-2882-4952.

ที่มาข้อมูล : http://www.thaipost.net/x-cite/190612/58402

บทความที่เกี่ยวข้อง

ของขวัญปีใหม่ ด้วยใจอาสา

admin 19 มิถุนายน 2019

ดูรายละเอียด การสมัครเป็นอาสาสร้างสุขให้เด็กในสถานสงเคร […]

ทศวรรษฉลาดทำบุญ กับคุณค่าต่อสังคม

admin 19 มิถุนายน 2019

งาน 10 ปี โลก(จิต)อาสา : ทศวรรษฉลาดทำบุญกับคุณค่าต่อสัง […]

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand