คาราวานหมอพื้นบ้านสัญจรของจังหวัดสกลนครที่มีทั้งหมอพื้นบ้าน แพทย์แผนไทย นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานสาธารณสุข โดยมีพระครูสุภาจารภิมลหรือหลวงพ่ออวด เป็นศูนย์รวมจิตใจได้ร่วมกันออกหน่วยบริการสู่ชุมชน การออกให้บริการ 2 วัน 1 คือ คือออกเดินทางวันเสาร์ และเดินทางกลับวันอาทิตย์ มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
ด้วยความมุ่งมั่นของคณะทำงาน ทำให้กิจกรรมคาราวานหมอพื้นบ้านสัญจร ที่เกิดจากความสงสัย ลังเล ไม่มั่นใจ ของเหล่าหมอพื้นบ้านและคนทำงานในเครือข่ายในช่วงแรกๆ ได้พัฒนามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพลิกฟื้นภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน
ทั้งการสืบค้นตัวคน คือ หมอพื้นบ้าน ซึ่งจมหายและต้องหลบเลี่ยงอยู่ใต้กฎหมาย ที่ไม่สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี
การสืบสานความรู้ คือ การแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ ระหว่างหมอพื้นบ้านอาวุโส และการเรียนรู้ของหมอพื้นบ้านรุ่นใหม่ๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ข้ามศาสตร์ของหมอพื้นบ้านแต่ละคน และในบางครั้งจะมีนักศึกษาแพทย์แผนไทยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร เข้าร่วมเรียนรู้ด้วย
การฟื้นฟูฐานทรัพยากรสมุนไพร ในกิจกรรมคาราวานหมอพื้นบ้านสัญจร ทำให้เครือข่าย ได้ช่วยกันเพาะพันธุ์สมุนไพรของหมอพื้นบ้านในแต่ละท้องที่ มาแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ซึ่งนอกจากทำให้พืชพันธุ์สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาที่หาได้ยากได้รับการฟื้นฟู ขึ้นมาแล้ว ยังทำให้หมอพื้นบ้านในเครือข่าย สามารถพึ่งตนเองในเรื่องสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาได้มากขึ้นด้วย
ทำให้เกิดการรู้จักและยอมรับของคนทั่วไปและหน่วยงาน แม้แต่ละปีจะมีความถี่ไม่มาก และไม่ครอบคลุมทุกตำบลของสกลนคร แต่ก็ทำให้ผู้คนและหน่วยงานในทุกพื้นที่ที่ลงไป ได้รู้จัก ยอมรับและเห็นคุณค่าของหมอพื้นบ้าน ในฐานะผู้รักษาสืบสานภูมิปัญญาการแพทย์ของท้องถิ่นและประเทศ และเป็นผู้ให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ
การเชื่อมร้อยความเป็นเครือข่ายฯ ทั้งภายในกลุ่มหมอพื้นบ้าน ที่กระจายตัวอยู่ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอต่างๆ และกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานด้านสุขภาพของรัฐ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบล(รพ.สต.) ผ่านการทำงานร่วมกันในคาราวานหมอพื้นบ้านสัญจรในแต่ละพื้นที่ สามารถต่อยอดให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ตามมาได้อีกด้วย