แคเธอรีน อาเคอร์ส ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทดสอบระบบความทรงจำในหนูทดลองวัยกระเตาะ โดยจำลองสิ่งแวดล้อมหนึ่งขึ้นมา และใช้คลื่นไฟฟ้าอ่อนๆ กระตุ้นให้ลูกหนูรู้สึกกลัว จากนั้นแบ่งกลุ่มหนูทดลองออกครึ่งหนึ่งเพื่อนำไปออกกำลังกายที่วงล้อของเล่น จากนั้นเปรียบเทียบความทรงจำของหนูทั้ง 2 กลุ่ม โดยพาหนูทั้งหมดกลับมาอยู่ในสภาพแวดล้อมน่ากลัว ผลปรากฏว่า หนูที่ผ่านการเรียนรู้วิ่งถีบจักรลืมภาวะที่ถูกชอร์ตด้วยไฟฟ้าอ่อนๆ ต่างจากหนูอีกกลุ่มที่จดจำได้ และพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ
จากการทดสอบนี้ นักวิจัยเชื่อมโยงกับข้อสงสัยที่หลายคนคาใจว่า ทำไมมนุษย์ถึงลืมหรือจดจำสิ่งที่เกิดขึ้นในวัยเด็กช่วงอายุไม่เกิน 3 ขวบ ที่เรียกว่า “อินแฟนไทล์ แอมเนเซีย” นั่นเป็นเพราะ สมองเปิดรับการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา สมองจึงต้องลบข้อมูลเก่าๆ ที่เรียนรู้ไปแล้ว เพื่อเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลใหม่นั่นเอง
ที่มา : ข่าวสด 5 ก.ค.2557