หากจะถามกันแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมาว่า ชุมชนท้องถิ่นยอมรับการแพทย์พื้นบ้านอีสานไหม?
จากที่แอดมินคลุกคลีกับเรื่องการแพทย์พื้นบ้านมานานและทำงานกับชุมชนด้วย
ตอบได้แบบเต็มปากเต็มคำว่า ยังมีชุมชนจำนวนมากให้การยอมรับการแพทย์พื้นบ้านอีสาน
แล้วมีปัจจัยอะไรนะ…ที่ทำให้การแพทย์พื้นบ้านอีสานยังคงอยู่ในชุมชน
แอดมินจะพาไปสำรวจในชุมชนกันค่ะ
ประการแรก เพราะการแพทย์พื้นบ้านอีสานเป็นการแพทย์แบบองค์รวม
มีแนวคิดว่า ต้องมีการรักษาทางจิตใจด้วย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนทำการรักษาด้วยกายภาพ และยังเป็นแรงหนุนให้ผู้ป่วยมีกำลังในการรักษาต่อไป
นอกจากรักษาแบบองค์รวมแล้ว หมอพื้นบ้านยังมีความสัมพันธ์ทางสังคมและอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันอีกด้วย
เหตุผลประการถัดมา คือ การรักษาโรคในกลุ่มที่เป็นโรคประจำถิ่นหรือโรคเฉพาะที่หมอแผนปัจจุบันไม่รู้จักนัก เพราะไม่ปรากฎอยู่ในตำราแพทย์แผนตะวันตก
เช่น ไข้หมากไม้ ประดง รวมถึงอาการโรคบางอย่างที่มีความเชื่อว่าเกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ก็จะแก้ไขด้วยพิธีกรรมบางอย่างของหมอพื้นบ้าน เป็นต้น
การแพทย์พื้นบ้านอีสานมีความสอดคล้องกับวิถีชุมชน เพราะว่าชาวบ้านและหมอพื้นบ้านมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมวิถีชีวิต การศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน จึงมีความแตกระหว่างชนชั้นไม่มาก
แม้ว่าทุกวันนี้จะมีโรงพยาบาลมากกว่าแต่ก่อน แต่เวลาเราไปหาหมอที่โรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนล้วนมีค่าใช้จ่าย ถึงจะมีระบบประกันสุขภาพในหลายประเภทแต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้จ่ายเงิน รวมถึงค่าเดินทางไปหาหมอ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
แต่การรักษากับแพทย์พื้นบ้านไม่ได้มีค่าใช้จ่ายที่สูงนัก เช่น ค่ายกครูไม่มากนัก หรือบางครั้งที่คนไข้ไม่มีรายได้มาก ก็นำ สิ่งของเป็นการตอบแทนค่ารักษา
โรคบางโรค…หมอพื้นบ้านมีประสิทธิภาพในการรักษา และยังมีการศึกษาวิจัยยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่าใช้จ่ายก็ต่ำกว่าการรักษาแผนปัจจุบัน
เช่น การแก้พิษงู แก้พิษแมงมุมกัดหรือพิษแมลสัตว์กัดต่อย และแก้งูสวัด เป็นต้น
ผู้ป่วย ชาวบ้านที่มารักษารู้สึกว่าขั้นตอนการรักษาไม่ยุ่งยากซับซ้อน …เรื่องนี้เหมือนจะไม่สำคัญ แต่มันสำคัญมาก
แอดมินเคยสังเกตุ…
ขอยกตัวอย่างจากตัวเองนะคะ …
เวลาแอดมินไปหาหมอโรงพยาบาลของรัฐ ตื่นแต่เช้าๆ ไปลงทะเบียน จากนั้น 08.30 ขึ้นไปรอหน้าห้องตรวจตามคิว ซึ่งต้องรอไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง …
ถ้าเป็นชาวบ้านที่มาจากพื้นที่ห่างไกล คิดดูซิคะ ว่าพวกเขาต้องเดินทางมาล่วงหน้า 1 วัน เพื่อรอลงทะเบียนตรวจในตอนเช้า
นั่นแสดงว่า ชาวบ้านที่มาหาหมอ ไม่ได้จ่ายเฉพาะค่ารักษาพยาบาล แต่ต้องจ่ายค่าเดินทาง ค่าที่พักอีกด้วย
ฉะนั้น..สำหรับแอดมิน ถ้าชุมชนไหนยังมีหมอพื้นบ้านที่เป็นที่ยอมรับ แอดมินว่าชุมชนนั้นโชดดีมีขุมทรัพย์อยู่ใกล้ตัวนะคะ…
#มูลนิธิสุขภาพไทย #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน
#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.