วิถีสืบทอดภูมิปัญญาตระกูลหมอ หมอชาญวุฒิ พันธุ์สายศรี (2)

“การปรุงยาสมุนไพร เปิดตำราเอาก็ได้ แต่การอ่านจากตำราเพียงอย่างเดียวไม่ลึกซึ้งพอ จะต้องไปเรียนรู้ฝึกฝนกับผู้รู้คนอื่นๆ จึงจะเกิดความชำนาญได้”

นั่นเป็นสิ่งที่หมอชาญวุฒิคิด…และคิดได้ว่า เรื่องการเป็นหมอพื้นบ้านความรู้ความเชี่ยวชาญต้องฝึกฝนทำบ่อยๆ

ในช่วงที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เรียกว่า มิยาซาวา  หมอชาญวุฒิได้รู้จักผู้ที่มีความรู้ในจังหวัดอื่นๆ หลายคน ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกัน มีความสนใจร่วมกัน หลังจากอบรมเสร็จได้ชักชวนกันมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันที่ชมรมแพทย์แผนไทยที่วัดหน้าพระเมรุ

ยิ่งได้พบปะพูดคุยกันบ่อยๆ หมอพื้นบ้านแต่ละคนมีความรู้ความเชี่ยวชาญต่างกัน การได้คุยกันยิ่งทำให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น

หมอชาญวุฒิคิดว่า การรวมกลุ่มจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ก้าวหน้ามากขึ้น

ช่วงที่หมอชาญวุฒิเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)ได้รับความรู้ทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบัน

และการเป็นแพทย์ประจำตำบลหมอชาญวุฒิได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น เพราะเป็นผู้สืบทอดในตระกูลหมอและเป็นคนอยุธยาดั้งเดิม  หน่วยงานราชการมักจะขอให้เป็นตัวแทนในเรื่องต่างๆบ่อยๆ

การเป็นแพทย์ประจำตำบลหมอชาญวุฒิได้เรียนรู้เรื่องการชันสูตรศพ นั่นทำให้หมอชาญวุฒิได้ทบทวนโครงสร้างร่างกายมนุษย์

หมอชาญวุฒิสรุปบทเรียนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาได้ว่า…

ความรู้ที่จดบันทึกไว้ไม่ใช่ความรู้ตายตัว เรายังต้องศึกษาค้นคว้าจากการปฏิบัติฝึกฝน เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าความรู้จากตำรานั้นใช้ได้ผลอย่างไร การจดบันทึกเป็นเพียงแนวทางให้เราได้เรียนรู้ต่อไป

หมอชาญวุฒิมักจะย้ำกับลูกศิษย์เสมอๆ ว่า เรียนผ่านตัวหนังสือไม่เพียงพอ เพราะการดูแลรักษาความเจ็บป่วยต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การเป็นหมอจึงต้องเรียนโดยตรงกับหมอที่รู้จริงและมีความชำนาญ

เราเป็นหมอแล้วก็จริง แต่การเรียนรู้จากหลายๆ แหล่งหรือจากหมอหลายคน จะเป็นการเสริม เพิ่มเติมความรู้ให้มากขึ้น และต้องใฝ่รู้ตลอดเวลา ต้องรู้จักวิเคราะห์คัดเลือกมาใช้ให้ตรงกับโรคและอาการเจ็บป่วย

หมอชาญวุฒิเรียนรู้ว่า…อาการของโรคเดียวกันไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีและยาแบบเดียวกัน เพราะผู้ป่วยมีร่างกายที่ต่างกัน ปัจจัยแวดล้อมต่างกัน เราต้องฝึกคิด วิเคราะห์ ทำความเข้าใจโรค เข้าใจอาการโดยมองให้เห็นวิถีความเป็นอยู่ของคนป่วยด้วย

ข้อดีอย่างหนึ่งของการเรียนรู้วิชาจากพ่อและคนในตระกูล เป็นการขัดเกลานิสัย และความละเอียดรอบคอบ หมอสง่าผู้เป็นพ่อสอนวิชา พร่ำสอนให้นึกถึงคุณธรรมตลอดเวลา

การที่หมอชาญวุฒิกลับมาสืบทอดหมอพื้นบ้าน ไม่ใช่เพราะไม่มีงานทำ แต่เป็นเพราะได้ค้นพบความหมายของชีวิตการเป็นหมอ

ไม่มีการค้นพบใดที่ยิ่งใหญ่เท่ากับการที่เราได้ค้นพบ “คุณค่าในตัวเอง”

#มูลนิธิสุขภาพไทย  #หมอพื้นบ้าน   #หมอสมุนไพร   #ภูมิปัญญา

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand