ประวัติศาสตร์งานอาสาสมัคร

1.ที่มาของงานอาสาสร้างสุขให้เด็กในสถานสงเคราะห์

วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว….
ปี 2558 นี้เป็นครบรอบ 10 ปีของกิจกรรมรณรงค์ “ฉลาดทำบุญ” ที่ริเริ่มมาตั้งแต่ช่วงพรรษาปี 2548 จากแนวคิดของพระไพศาล วิสาโล และเครือข่ายพุทธิกา โดยมูลนิธิสุขภาพไทยเป็นองค์กรหนึ่งในเครือข่ายพุทธิกา เห็นความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง “บุญ” เพราะอาจกล่าวได้ว่าคนไทยหายใจเข้าออกเป็นเรื่อง “บุญ” และนึกถึงการทำบุญอยู่ตลอดเวลา ความใฝ่ในบุญนี้เองมีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์สภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมของไทยมาตลอด รวมทั้งการหล่อเลี้ยงชีวิตด้านใน เป็นสุขภาวะทางจิตใจที่ทำให้มีความสงบเย็นเป็นสุข

แต่ในปัจจุบันความรู้ความเข้าใจของคนไทยเกี่ยวกับบุญและการทำบุญ ได้ “คลาดเคลื่อน”และ “คับแคบ” เป็นอย่างมาก ผู้คนจำนวนมากเข้าใจว่าการทำบุญมีความหมายเพียงแค่การให้ทาน และจำกัดที่การให้แก่พระสงฆ์เท่านั้น ทั้งๆที่ในทางพุทธศาสนา “ทาน” เป็นเพียง 1 ใน 10 วิธีทำบุญ และสามารถจะทำกับใครก็ได้ นอกจากนั้นยังมีความเข้าใจอีกว่า บุญ จะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณเงินหรือสิ่งของที่ถวายแก่พระสงฆ์หรือวัดวาอารามเท่านั้น

ความเข้าใจและการปฏิบัติอย่างคลาดเคลื่อนคับแคบดังกล่าวได้ทำให้การทำบุญแยกขาดจากการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม และกลายเป็นเรื่องของวัตถุล้วน ๆ ส่วนมิติด้านจิตใจ โดยเฉพาะการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดอันเป็นความหมายและจุดหมายแท้จริงของบุญถูกมองข้ามไป ผลก็คือการทำบุญนับวันจะไม่เอื้อให้เกิดความผาสุก และส่งเสริมการเติบโตทางปัญญาอย่างที่เคยเป็น

แนวคิดเรื่องบุญตามหลักพุทธศาสนานั้นมีศักยภาพอย่างมากในการสร้างเสริมสุขจิตใจ และสุขภาพทางสังคมไทย เพราะบุญช่วยให้ผู้คนเห็นแก่ตัวน้อยลง และเสียสละเพื่อผู้อื่นมากขึ้น ในด้านหนึ่ง บุญหมายถึง การฝึกจิตรักษาใจให้สงบ(ภาวนา) การคิดชอบ(ทิฏฐุชุกรรม) และการหมั่นศึกษาข้อคิดที่ดีงาม(ธรรมสวนมัย) อีกด้านหนึ่งบุญคือ การแบ่งปัน(ทาน) การไม่เบียดเบียน(ศีล) ความอ่อนน้อมถ่อมตน(อปจายนมัย) และการเสียสละเพื่อส่วนรวม(ไวยาวัจจมัย) เห็นได้ว่าบุญนั้นก่อให้เกิดความเจริญงอกงามในชีวิตควบคู่กับการสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้สังคม

หากแนวคิดเรื่องบุญดังกล่าวแพร่หลายทั้งในระดับบุคคล กลุ่มและสังคม จะช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่บั่นทอนสุขภาวะของสังคมไทยในปัจจุบัน ดังที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้เคยกล่าวย้ำว่า “ถ้าสร้างชีวิตและชุมชนแห่งบุญได้ ก็กู้ชีพสังคมไทยสำเร็จ”

ด้วยเหตุผลดังกล่าว มูลนิธิสุขภาพไทยร่วมกับเครือข่ายพุทธิกา จึงมุ่งส่งเสริมและรณรงค์ แนวคิดเรื่องบุญขึ้นใหม่ ให้เกิดความสุขสงบในจิตใจ พร้อมจะแบ่งปันเอื้อเฟื้อผู้อื่น ตลอดจนเสียสละเพื่อส่วนรวม จึงเป็นการวางรากฐานที่ดีต่อตนเองและสังคม

เมื่อพรรษา ปี 2548 จึงเริ่มกิจกรรม “อาสานวดเด็ก : สัมผัสกาย สัมผัสรัก” เพื่อน้องผู้ด้อยโอกาส ที่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด จ.นนทบุรี

2.อาสานวดเด็ก สร้างนวัตกรรม สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตเด็ก
(ภาพ กิจกรรมนวดเด็ก)

เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา มูลนิธิสุขภาพไทยร่วมรณรงค์ “ฉลาดทำบุญ” ตามหลักการทำบุญ 10 ประการ (บุญกิริยาวัตถุ 10) โดยนำกิจกรรมหลัก คือ การชักชวนคนมาเป็นอาสาสมัคร ช่วยกันสละแรงกายช่วยเหลือผู้อื่นหรือภาษาพระเรียกว่า ไวยาวัจจมัย ( 1 ในวิธีทำบุญ 10 ประการ) ซึ่งเป็นวิธีการทำบุญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้และไม่เข้าใจ คิดว่าการทำบุญต้องใช้เงินเท่านั้น ทั้งๆที่สละแรงกายหรือจิตอาสาก็ได้บุญ

โครงการอาสานวดเด็ก เปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้ใช้เวลาประมาณสัปดาห์ละ 3-4 ชม. ในการช่วยเหลือดูแลเด็กด้อยโอกาสที่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด โดยมูลนิธิสุขภาพไทยนำเอาศาสตร์ความรู้ดั้งเดิมด้านการนวดเด็ก มาฝึกอบรมให้กับอาสาสมัคร อาสาสมัครทำการนวดสัมผัสและให้ความรัก ความอบอุ่นแก่เด็กอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเข้าพรรษา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2548 ( ประมาณ 3 เดือน ) การริเริ่มครั้งนี้ทางมูลนิธิสุขภาพไทยได้รับความร่วมอย่างดีจากสหทัยมูลนิธิ จัดให้มีอาสาสมัครหมุนเวียนกันมาดูแลเด็กในวันอังคาร พุธ และเสาร์-อาทิตย์ โดยแบ่งเป็นรอบเช้าและรอบบ่าย

อาสาสมัคร 1 คน จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็กเพียง 1 คน โดยจะพยายามให้ได้ดูแลเด็กคนเดิมเพื่อสร้างความคุ้นเคยและกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง อาสาสมัครจะใช้เวลาในการนวดสัมผัสประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นก็จะใช้เวลาที่เหลือเล่นกับเด็ก พูดคุยหยอกล้อกับเด็ก ป้อนนม ป้อนอาหาร เปลี่ยนผ้าอ้อม ก่อนที่จะส่งเด็กกลับตามตึกต่างๆ และเขียนบันทึก

ผลการประเมินจากนักวิชาการ สรุปย่อได้ว่า บรรลุวัตถุประสงค์ การส่งเสริมให้เกิดการทำบุญที่เกิดประโยชน์ สร้างสรรค์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม เนื่องจากกิจกรรมนวดเด็กที่รณรงค์ในช่วงเข้าพรรษาปี 2548 ถือเป็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จที่สุดกิจกรรมหนึ่ง มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเกินความคาดหมาย ตั้งเป้าไว้ที่จำนวน 80-100 คน แต่มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมครั้งแรกสูงถึง 224 คน มีการแจ้งยกเลิกหลังจากทราบเงื่อนไข (ทำต่อเนื่องในช่วง 3 เดือน) เพียง 58 คน คงเหลืออาสาสมัครที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 166 คน เป็นชาย 12 คน และหญิง 154 คน

จากการสอบถามถึงเหตุผลที่ตัดสินเข้าร่วมกิจกรรมนวดเด็ก พบว่าร้อยละ 70 เป็นผู้ที่มีความสนใจหรือมีความพร้อมอยากจะช่วยเหลือหรือทำประโยชน์เพื่อส่วนร่วมอยู่แล้ว เพียงขาดการให้โอกาสจากสังคม ( ร้อยละ 86 ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครที่ใดมาก่อน ) เมื่อมีการรณรงค์ให้ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมในช่วงเข้าพรรษาจึงตัดสินใจเข้าร่วมทันที ยิ่งทางแนวการรณรงค์พยายามเชื่อมโยงให้เห็นว่าการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการสละแรงกาย ใจ และเวลาเป็นการทำบุญวิธีหนึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกว่าเป็นกิจกรรมที่ได้รับประโยชน์สองต่อ กล่าวคือ ได้ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ขณะเดียวกันก็ได้บุญด้วย

กิจกรรมนวดเด็กนี้ช่วยส่งเสริมให้คนทำบุญโดยการช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสในสังคม เป็นงานที่ทำให้คนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น เพราะเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สังคมพร้อมจะโอบอุ้ม ช่วยเหลือ ยิ่งเป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้งในสถานสงเคราะห์ก็ยิ่งได้รับความเมตตาสงสารมากขึ้น

ในปีเริ่มแรกเมื่อ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ปี 2548 นั้นนับว่าเป็นการรณรงค์เพื่อส่งเสริมคนให้รู้จักทำบุญในรูปแบบใหม่ ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมหรือการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เชิงรณรงค์สร้างกระแสได้ดีเกินคาด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าในสังคมไทยยังมีคนที่ต้องการทำความดี ต้องการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นอีกมาก การหยิบยกเอาเทศกาลเข้าพรรษาเป็นช่วงของการรณรงค์แนวคิดในเรื่องนี้ถือว่ามีความเป็นนวัตกรรมอย่างยิ่ง นอกจากช่วยเผยแพร่แนวคิดในเรื่องการทำบุญแบบใหม่แล้ว ยังเอื้อให้คนในสังคมได้คุ้นเคยกับการทำความดีเพื่อผู้อื่นด้วย.

3. บันทึกเล่มแรก จารึกความรักความอบอุ่นไม่รู้ลืม
(ภาพบันทึก)


ในการดำเนินงานอาสาสมัครกับมูลนิธิสุขภาพไทย ได้ให้อาสาแต่ละคนเขียนบันทึกทุกครั้งที่มาเป็นอาสานวดเด็กหรือเลี้ยงน้องที่สถานสงเคราะห์ อ่านตัวอย่างเรื่องราวของพวกเขาและเธอ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว…

 

 

4. งานอาสา คือการสร้างสำนึกใหม่ ช่วยสร้างเสริมสุขภาวะของสังคมและบุคคลไปพร้อมกัน

อาสานวดเด็กฯ ในปี 2548 เป็นปีเริ่มต้น ทางมูลนิธิสุขภาพไทยต้องการประเมินผลว่างานที่ทำดีหรือไม่ก่อนที่จะขยายผลในปีต่อไป(ทำต่อเนื่องมา 10 ปี) จึงทำการศึกษาอย่างเป็นระบบโดยนักวิจัย ผลการประเมินพบว่า งานอาสาสมัครสนับสนุนให้เกิดจิตสำนึกในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม อันจะเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะของสังคมและบุคคลไปพร้อมกัน

ตั้งแต่ระดับบุคคล สิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจและมุมมองต่อผู้คนและสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น

มองเห็นและเข้าใจความทุกข์ของผู้อื่นมากขึ้น
“เด็กที่นี่เยอะมาก ทุกวันจะมีเด็กเข้ามาใหม่ 1-3 คน บางวันก็มากกว่านั้น
พอมาเห็นแล้วรู้สึกเห็นใจเจ้าหน้าที่ที่นี่มาก จำนวนพี่เลี้ยงมีไม่เพียงพอ
กับจำนวนเด็ก เราเลี้ยงลูกคนนึงยังเหนื่อยแทบตาย แต่นี่ต้องดูแลเป็นร้อย
นึกไม่ออกจริงๆ ว่าทำได้ยังไง อยากให้รัฐบาลและสังคมหันมาสนใจแก้ไข
ปัญหาให้มากขึ้น อย่างประชาสัมพันธ์ให้มีอาสาสมัครเข้ามาช่วยเลี้ยงเด็ก
ให้มากขึ้น เราเชื่อว่าคนในสังคมที่มีจิตใจดียังมีอยู่เยอะและพร้อมที่จะเข้ามา”

“มาเห็นแบบนี้แล้วทำให้รู้ว่าคนที่ลำบากกว่าเรายังมีอีกมาก ตัวเราโชคดี
ขนาดไหนที่เกิดมาสมบูรณ์พร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องหมั่นทำความดีให้มาก”

เห็นคุณค่าของการเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เสียสละ การให้
“พอได้ทำแล้วรู้สึกดี มีความสุขมากๆ จริงๆ แล้วในขณะที่เราคิดว่า
มาให้ แต่เราก็ได้รับความรักจากเด็กด้วย เค้าให้ความสุขที่สะท้อน
กลับมา เราต่างฝ่ายต่างให้ซึ่งกันและกัน”

เข้าใจชีวิตและเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น
“ตั้งแต่มาทำบอกได้เลยว่าตัวเองได้ฝึกความอดทนมาก ต้องใจเย็น
และอดทนมากๆ อย่างเราไม่เคยเลี้ยงเด็กมาก่อน บางทีเค้างอแง
เราก็ไม่รู้ว่าหมายความว่ายังไง พอเลี้ยงไปเรื่อยๆ ก็จะคอยสังเกต
เรียนรู้เค้าไปทีละนิด รู้เลยว่าเลี้ยงเด็กคนหนึ่งต้องอดทนมาก
เราก็ต้องพยายามปรับตัว ปรับใจของเราไม่ให้หงุดหงิด
พอทำบ่อยๆ เข้าก็มาคิดได้ว่า ความจริงก็เอามาปรับใช้กับชีวิตของ
เราในเรื่องอื่นๆ ได้ด้วย ช่วยให้เราเรียนรู้และเข้าใจคนรอบข้างได้
มากขึ้น”

อยากทำความดี อยากทำอาสาเพิ่มมากขึ้น
“เราจะตั้งหน้าตั้งตาคอยทุกสัปดาห์ว่าเมื่อไหร่จะได้เจอเด็กอีก อยากรู้ว่าวันนี้เด็ก
จะพัฒนาขึ้นอย่างไรบ้าง ยังจำเราได้มั้ย ก่อนมาตอนกลางคืนก็จะคิดว่า
พรุ่งนี้เราจะทำอะไรให้เค้าบ้าง”
“สองครั้งแรกก็ยังไม่เห็นอะไร พอครั้งที่สามสี่เริ่มดีขึ้น เค้าเริ่มมีพัฒนาการ
สบตาได้ สื่อสารได้ รับรู้สิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น โอโฮ! ความรู้สึกตอนนั้นมัน
เหมือนได้ของขวัญตอนที่ได้คำตอบจากครูเมี่ยงว่า น้องไม่ถูกวินิจฉัยว่า
เป็นออทิสติกแล้ว”

5. อาสาสมัคร ส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และองค์กรแห่งความสุข

“เห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ในแง่ของคนที่เข้ามาทุกคนก็มีจิตใจอยากช่วยเหลือ
ซึ่งเราก็ขอบคุณมากเลย อะไรที่คิดว่าเด็กได้ประโยชน์เราก็ยินดีสนับสนุน
อยู่แล้ว อย่างความอบอุ่นการนวดสัมผัสอะไรต่างๆ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ
ก็บอกว่าเด็กได้รับเต็มที่ ในด้านหนึ่งก็ช่วยกระตุ้นเด็กและกระตุ้นพี่เลี้ยง
ไปด้วยในตัว โดยที่เราไม่ต้องบังคับ ซึ่งบางส่วนเราก็ทำกันอยู่แล้ว”
คำสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ดเมื่อปี 2548 แสดงให้เห็นว่า งานอาสานวดเด็ก ส่งผลดีต่อเด็กและบุคลากรในสถานสงเคราะห์ และคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ต่อไปนี้ช่วยยืนยันได้อย่างดี
“เด็กบางคนก็หงุดหงิดง่าย แต่พอนวดแล้ว ได้นอนหลับเต็มที่ ตื่นมาก็อารมณ์ดีขึ้น ไม่งอแงเท่าไหร่”

“โดยรวมก็ดีนะ ก็ประชุมกัน คุยกันว่าเด็กดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น นอนหลับสบาย”

“ต้องยอมรับว่าเด็กเราเยอะ แม่มีน้อย มีคนมาช่วยอุ้ม ช่วยเอาออกไปดูแล เด็กก็ดี ได้ประโยชน์ ก็เป็นการแบ่งเบาภาระของแม่ด้วย เราก็ดูเด็กที่เหลือน้อยลงไป เพราะงานเราก็เยอะอยู่แล้ว”

เพราะผู้บริหารเปิดทาง องค์กรจึงมีความสุขและเรียนรู้ไปด้วยกัน
กิจกรรมอาสาจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารสูงสุดของสถานสงเคราะห์ฯ ซึ่งในกรณีนี้ต้องถือว่าผู้ปกครองของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ดมีวิสัยทัศน์ที่เปิดกว้างและเห็นความสำคัญของอาสาสมัครและการเปิดโอกาสให้สังคมได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ในรูปของกิจกรรมอาสาสมัคร จึงทำให้โครงการอาสาเริ่มต้นจากสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างโอกาสการเรียนรู้ทั้งตัวอาสาสมัคร องค์กรพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกหลายสถานสงเคราะห์

6.บันทึกความร่วมมือ มิติใหม่ขยายงานอาสา
(ใช้ภาพเอกสาร MOU )
5 ปีเต็มๆ จากปี 2548- 2553 ที่มูลนิธิสุขภาพไทยดำเนินงานอาสาสมัครในสถานสงเคราะห์ โดยเริ่มจากโครงการ “อาสานวดเด็ก” ช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้กับเด็กทารกแรกเกิดถึงสองขวบ พองานการเริ่มผลิออกดอกผล ผนวกกับได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงทำให้งานอาสาในสถานสงเคราะห์เป็น 1 ในหลายโครงการนำร่องที่ทาง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ สสส. จับมือกันเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ พัฒนาสังคมที่ดีและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน โดยหวังให้คนไทยมีสุขภาวะที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 ปลัดกระทรวง พม. และผู้จัดการ สสส. จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินงานการขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมอย่างเป็นรูปธรรม (ดูเอกสาร) ซึ่งทำให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกัน (Co-Management) ซึ่งช่วยให้ขยายพื้นที่การทำงานอาสาสมัคร และพัฒนาระบบงานอาสาสมัครในสถานสงเคราะห์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ขยายงานอาสาสมัครในสถานสงเคราะห์อื่นๆ
ปัจจุบันงานอาสาสมัครในสถานสงเคราะห์ที่มูลนิธิสุขภาพไทยได้ริเริ่มขึ้น ได้ขยายไปสู่สถานสงเคราะห์เด็กและสถานคุ้มครองเด็กรวม 5 แห่ง ได้แก่ (1)สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนบ้านปากเกร็ด (2)สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต (3)สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี (4)สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า และ(5)สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ ซึ่งมีเป้าหมายให้ทั้ง 5 แห่งนี้พัฒนาเป็นแหล่ง(ศูนย์)เรียนรู้และส่งเสริมจิตอาสาเพื่อเด็กในสถานสงเคราะห์ให้กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆต่อไป

หม่อนสายพันธุ์ไทย

admin 3 ธันวาคม 2024

โดยปกติหม่อนจัดอยู่ในสกุล Morus ซึ่งในฐานข้อมูลระดับโลกของสวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว บันทึกไว้ว่ามีทั้งสิ้น 17 ชนิด (species)

ตูมกาน้ำใส Back to the Future

admin 26 พฤศจิกายน 2024

งานศึกษาวิจัยพบว่าในต้นตูมกาน้ำใสมีสารอินโดลอัลคาลอยด์โมโนเมอร์และไดเมอร์จำนวนมาก มีฤทธิ์ในระดับสัตว์ทดลองมีผลลดความดันโลหิต

น้ำมันนวดสมุนไพรและยาหม่องหมอใหญ่ : หมอไทยดีเด่นแห่งชาติปี 2567

admin 19 พฤศจิกายน 2024

งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติจะเป็นเวทีในการสร้างมูลค่าให้กับภูมิปัญญาของประเทศไทย

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand